ข้ามการนำทางลิงก์

ศาสตร์แห่งการวิ่ง

Entry level runner ด้วยการตรวจวัดปัจจัยสำคัญต่างๆ ในการวิ่งและความก้าวหน้าทางสุขภาพของคุณ คุณจึงสามารถดูผลของระดับการออกกำลังกายได้มากกว่าเดิมและทราบว่าจะต้องทำอะไรต่อไปเพื่อให้ได้ผลดีหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เลือกให้อุปกรณ์ Garmin เก็บข้อมูลให้ในขณะที่คุณออกกำลังกายเพื่อคุณจะได้ทราบตัววัดการวิ่งและตัววัดทางสรีรวิทยา หากอุปกรณ์ทราบสถิติของคุณ แต่คุณต้องการที่จะรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเลขเหล่านั้น คุณมาถูกที่แล้ว คุณสามารถทำอะไรได้บ้างกับข้อมูลที่ผ่านการคำนวณมาแล้วนี้ แล้วแต่คุณเลย เราขอให้แนะนำดังนี้

การวัดทางสรีรวิทยา

สถานะฝึก

A watch screen showing training status.สถานะการฝึกซ้อมคือคุณสมบัติแรกที่ Garmin มอบให้คุณซึ่งวิเคราะห์อย่างถูกต้อง ไม่ใช่เพียงจากการวิ่งวันนี้เท่านั้นแต่รวมถึงกิจวัตรการฝึกซ้อมในระยะยาวของคุณด้วย ทำให้คุณวิเคราะห์ตัวเองได้อย่างลึกซึ้งว่าการฝึกซ้อมของตัวเองเป็นอย่างไร การวัดแบบอื่นอาจทำให้คุณเห็นกระบวนการฝึกผ่านทางหน้าต่าง แต่สถานะการฝึกซ้อมพังกำแพงนั้นลงและทำให้คุณได้เห็นภาพแบบพาโนรามา

การฝึกซ้อมปัจจุบันของคุณเข้มข้นพอหรือเปล่า ยาวพอหรือเปล่า จะช่วยปรับปรุงสุขภาพได้หรือเปล่า คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณออกกำลังกายหนักพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว หรือจะรู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้ออกกำลังกายหนักเกินไป สถานะการฝึกซ้อมช่วยให้คุณตัดสินใจเกี่ยวกับการฝึกซ้อมในอนาคตด้วยการคำนวณอัตโนมัติจากการเปลี่ยนแปลงของระดับสมรรถภาพ ความหนักของการฝึกซ้อมแบบเฉียบพลัน (7 วัน) ในปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงของความหนักของการฝึกซ้อมที่เกี่ยวข้องกับการฝึกซ้อมที่ผ่านมา สาระสำคัญก็คือ สถานะการฝึกซ้อมสามารถบอกถึงประสิทธิภาพของคุณในการฝึกซ้อมปัจจุบัน และให้คำแนะนำเพื่อช่วยให้คุณปรับปรุงการตัดสินใจในการฝึกซ้อม

ข้อมูลที่คำนวณโดย Firstbeat ใข้ข้อมูลหลากหลายมิติจากโมเดลดิจิทัลของสรีระของคุณ การเปลี่ยนแปลงระดับสมรรถภาพ VO2 max ของคุณที่สัมพันธ์กับความหนักของการฝึกซ้อมในช่วงเวลาที่ผ่านมาแสดงถึงประสิทธิภาพของคุณในการฝึกซ้อม

พลังและธรรมชาติที่ถูกเรียงร้อยเข้าด้วยกันตามหลักสรีรศาสตร์ของร่างกายสร้างกระบวนการการฝึกซ้อมที่ดูเป็นศิลปะมากกว่าวิทยาศาสตร์ หากดูอย่างผิวเผิน เรามักจะรู้สึกว่าสิ่งที่เราคาดหวังไม่ค่อยจะตรงกับสิ่งที่เราได้รับจริง และในทางกลับกัน สิ่งที่เราได้รับจริงก็มักจะไม่ค่อยตรงกับสิ่งที่เราคาดหวังเช่นกัน

อธิบายให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม คือตอนที่คุณเลิกฝึกซ้อม ระดับสมรรถภาพของคุณจะลดลง แต่ขึ้นอยู่กับความหนักของการฝึกซ้อมที่ผ่านมาด้วย การพักจากกิจวัตรการฝึกซ้อมเป็นประจำอาจช่วยเพิ่มระดับสมรรถภาพของคุณก็ได้ เช่นนี้แล้ว เรามักจะคิดว่าถ้าฝึกซ้อมหนักก็จะช่วยพัฒนาระดับสมรรถภาพ แต่ระวังให้ดี การออกกำลังกายหนักมากเกินไปบ่อยๆ จะทำให้ระดับสมรรถภาพของคุณเริ่มลดลงเนื่องจากภาวะฝึกซ้อมมากเกินไป

ตัวอย่างว่าสถานะการฝึกซ้อมทำงานอย่างไร สมมติว่าคุณได้ฝึกซ้อมมาสักระยะหนึ่งอย่างสม่ำเสมอหลายสัปดาห์ และระดับสมรรถภาพของคุณยังปกติ หรือเพิ่มลดแบบวันต่อวันน้อยมาก สถานะการฝึกซ้อมจะแจ้งให้ทราบโดยอัตโนมัติและการฝึกซ้อมของคุณจะได้รับการจัดประเภทเป็น “มีประสิทธิภาพ” เช่นกันว่าถ้าคุณฝึกซ้อมหนักเกินไปแต่ระดับสมรรถภาพของคุณเริ่มลดลง ในสถานการณ์นี้ การฝึกซ้อมของคุณจะได้รับการจัดประเภทเป็น “หนักเกินไป” และอุปกรณ์จะแนะนำให้พักฟื้นเพิ่มเติม

สถานะการฝึกซ้อม ได้แก่

ช่วงพีค – สภาพร่างกายของคุณพร้อมต่อการแข่งขัน! การลดความหนักของการฝึกซ้อมของคุณครั้งล่าสุดนี้ช่วยให้ร่างกายของคุณสามารถฟื้นตัวและทดแทนการฝึกซ้อมก่อนหน้านี้ได้อย่างเต็มที่ คุณควรวางแผนล่วงหน้า เนื่องจากสภาพช่วงพีคนี้อาจจะคงอยู่ได้ไม่นาน

มีประสิทธิภาพ – พยายามทำให้ดีแบบนี้ต่อไป! ความหนักของการฝึกซ้อมของคุณกำลังช่วยพัฒนาสมรรถภาพไปในทิศทางที่ถูกต้อง

รักษาระดับ – ความหนักของการฝึกซ้อมปัจจุบันของคุณเพียงพอสำหรับการรักษาระดับสมรรถภาพของคุณแล้ว เพื่อจะได้เห็นพัฒนาการ

พักฟื้น – ความหนักของการฝึกซ้อมที่เบาลงของคุณจะช่วยให้ร่างกายของคุณได้ฟื้นตัว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงการฝึกซ้อมหนักที่ยาวนาน

ไม่มีประสิทธิภาพ – ความหนักของการฝึกของคุณอยู่ในระดับที่ดี แต่สมรรถภาพของคุณลดลง ร่างกายของคุณอาจฟื้นตัวได้ลำบาก

น้อยเกินไป – ความหนักของการฝึกซ้อมของคุณหนักมากและส่งผลเสีย ร่างกายของคุณต้องการพักผ่อน

หนักเกินไป – ความหนักของการฝึกซ้อมของคุณหนักมากและส่งผลเสีย ร่างกายของคุณต้องการพักผ่อน ให้เวลาตัวเองพักฟื้นร่างกายด้วยการเพิ่มการฝึกที่เบาลงไปในตารางของคุณ

ไม่มีสถานะ – โดยทั่วไปคุณต้องมีประวัติการฝึกซ้อมหนึ่งหรือสองสัปดาห์ และมีกิจกรรมที่ผ่านมาไม่ได้นานที่มีค่า VO2 max จากการวิ่งหรือขี่จักรยาน

VO2 Max

A watch screen showing VO2 max.คะแนน VO2 max คือตัวเลขสำคัญที่จะต้องทราบเพื่อคุณจะได้เห็นภาพ เข้าใจ และที่สำคัญคือจะได้สามารถจัดการระดับสมรรถภาพของตัวเองได้ ในระดับเทคนิค คะแนน VO2 max อธิบายถึงอัตราสูงสุดที่คุณสามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายของตัวเอง โอนถ่ายสู่กล้ามเนื้อและใช้อย่างมีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตพลังงานที่ใช้ออกซิเจน ในระดับบุคคล คะแนน VO2 max คือเครื่องมือที่สำคัญและมีประโยชน์หลายอย่างในการวัดสุขภาพและบ่งบอกถึงความสามารถในการออกกำลังกาย

หากต้องการเข้าใจคะแนน VO2 max ของตัวเอง ขอให้จำง่ายๆ ว่าคะแนน VO2 ที่ต่ำแสดงถึงระดับสมรรถภาพที่แย่ และคะแนน VO2 max ที่สูงแสดงถึงความสามารถในการออกกำลังกายที่เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย VO2 max ก็มีพันธุกรรมเชิงมิติว่าร่างกายของคุณสามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดด้วยการดูระยะ VO2 max ของคุณ กล่าวคือ คะแนน VO2 max ของคุณทำให้คุณกระฉับกระเฉง และส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการเทรนด์ของคุณ หากฝึกฝนอย่างถูกต้อง ทุกคนสามารถพัฒนาคะแนน VO2 max ของตัวเองได้

คนที่พัฒนาคะแนน VO2 ได้ยากมากคือนักกีฬาระดับอาชีพ เพราะสุขภาพดีมากอยู่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นข่าวดีสำหรับทุกคน

การวิจัยพบว่าการเคลื่อนไหวมากๆ สามารถทำให้คุณมีความสุขและมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น VO2 max คือค่าสำคัญที่ใช้ในการวิจัยและทำให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าเรื่องนี้เป็นจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ หากคุณต้องการที่จะพัฒนาตัวเอง อุปกรณ์ของคุณสามารถเป็นเครื่องมือช่วยให้คุณมุ่งไปในทิศทางที่ถูกต้อง

สำหรับคนที่สนใจในผลของการออกกำลังกาย คะแนน VO2 max สามารถนำไปใช้ในวิธีที่ต่างไปจากเดิมนิดหน่อย ยิ่งร่างกายของคุณสามารถนำออกซิเจนไปใช้ระหว่างการออกกำลังกายได้มากเท่าใด คุณจะยิ่งมีพลังเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงทำให้คุณสามารถวิ่งได้เร็วขึ้นในระหว่างการแข่งขัน

เวลาพักพื้น

A watch screen showing recovery time.การพักฟื้นเป็นเรื่องสำคัญในสัดส่วนของกระบวนการฝึกซ้อม แต่มักจะถูกมองข้าม ช่วงเวลาพักฟื้นจะคิดจากการปรับตัวของร่างกายของคุณที่ตอบสนองต่อการฝึกซ้อมและการเติมพลังงานจากแหล่งต่างๆ ตามธรรมชาติ ความจริงแล้ว การพักฟื้นที่ไม่เพียงพอจะนำไปสู่การขาดสุขภาวะและสมรรถภาพองค์รวม การพักฟื้นตามระดับของตัวเองอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ได้รับประโยชน์จากการฝึกฝนที่ยากลำบากอย่างเต็มที่และมั่นใจว่าคุณจะได้ผลลัพธ์ที่หวังไว้อย่างเต็มที่ คุณจะสามารถอัปเดทและใช้โปรแกรมการฝึกซ้อมได้อย่างมั่นใจ

หลังจากการออกกำลังกายแต่ละครั้ง อุปกรณ์ของคุณจะแสดงจำนวนชั่วโมงที่คุณจะฟื้นตัวเกือบเต็ม 100% และสมรรถภาพที่จะออกกำลังกายอย่างหนักหรือลงแข่งวิ่ง ข้อมูลที่คำนวณโดย Firstbeat เป็นการคำนวณที่ให้ข้อมูลแบบเฉพาะตัวพร้อมนำไปใช้กับโมเดลดิจิทัลโดยเฉพาะเพื่อสรีระของคุณ คำนวณจากการผสานข้อมูลในเซสชั่นคะแนน Training Effect การประเมินสมรรถภาพและระดับสมรรถภาพที่คุณทำได้ระหว่างเซสชั่น และจำนวนชั่วโมงพักฟื้นที่เหลือบนนาฬิกาเมื่อคุณเริ่มออกกำลังกาย

การพักฟื้นมีระยะมากที่สุดถึง 4 วัน

เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด แนะนำให้วิ่งหลายๆ ครั้งหลังจากที่เริ่มใส่นาฬิกาเพื่อที่อุปกรณ์จะได้เรียนรู้ระดับสมรรถภาพของคุณอย่างเที่ยงตรง หลังจากนั้นเมื่ออุปกรณ์ตั้งค่าดีแล้ว จำนวนเวลาพักฟื้นในครั้งต่อๆ มาจะเที่ยงตรงมากขึ้น

Training Load

A watch screen showing training load.ต้องการเห็นภาพรวมให้ชัดขึ้น? คุณต้องไปดูที่นี่ ความหนักของการฝึกซ้อมคือการวัดระดับการฝึกของคุณใน 7 วันที่ผ่านมา นอกจากนี้ อุปกรณ์ Garmin ที่รองรับยังสามารถเปรียบเทียบความหนักของการฝึกซ้อมในสัปดาห์นี้กับความหนักของการฝึกซ้อมในระยะยาว ซึ่งจะถูกนำไปคิดรวมกับระดับสมรรถภาพ และแสดงให้คุณเห็นว่าความหนักนี้คือช่วงที่เหมาะสม จำนวนของการออกกำลังกายคือ EPOC ซึ่งสร้างจากการประเมินข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจที่รวบรวมได้ระหว่างการออกกำลังกาย ความหนักของการฝึกซ้อมปัจจุบันของคุณจึงเป็นผลรวมจากการวัด EPOC ใน 7 วันที่ผ่านมา

เป็นความจริงว่าการผลักดันตัวเองคือวิธีที่จะไปถึงเป้าหมาย แต่การหักโหมและการฝึกซ้อมหนักเกินไปก็ทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีและสามารถทำให้บาดเจ็บได้ ดังนั้นโปรดดูความหนักของการออกกำลังกายของตัวเองให้ดี จะได้รู้ว่าคุณออกกำลังกายมากไป น้อยไป หรือกำลังดีแล้ว

ความหนักของการออกกำลังกายที่มีให้ ได้แก่:

หนัก – อ้างอิงจากระดับสมรรถภาพปัจจุบันของคุณและกิจวัตรการฝึกซ้อมล่าสุด ความหนักของการออกกำลังกายอาจหนักเกินไปที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี

เหมาะสม – ระดับนี้คือระดับที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาและปรับปรุงระดับสมรรถภาพของคุณ พยายามทำให้ดีแบบนี้ต่อไป!

ต่ำ – ความหนักของการออกกำลังกายของคุณต่ำเกินไปสำหรับระดับสมรรถภาพและกิจวัตรการฝึกซ้อมปัจจุบันของคุณ ถ้าคุณออกกำลังกายระดับนี้ต่อไป

ใช้ประโยชน์สูงสุดจากการโฟกัสที่ปริมาณการฝึกซ้อม

Making the most of training load focus

หน้าจอข้อมูลที่บ่งบอกถึงปริมาณการฝึกไม่เพียงแต่แสดงภาพกราฟฟิกของปริมาณการซ้อมของคุณว่ากระจายไปตามหมวดหมู่ความเข้มข้นหลักสามประเภทได้อย่างไร แต่ยังมีคำแนะนำเชิงคุณภาพให้อีกด้วย

  • ขาดแคลน: คุณขาดการออกกำลังกายในหมวดหมู่ความเข้มข้นการฝึก
  • สมดุล: การฝึกของคุณถูกกระจายไปตามระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ได้ดี
  • โฟกัส: ความหลากหลายในการฝึกของคุณถูกวางโครงสร้างมาอย่างดีแต่มุ่งเน้นเฉพาะไปที่บริเวณหนึ่ง

นอกเหนือไปจากหมวดหมู่ทั้งสามของคำแนะนำโฟกัสโหมดข้างต้นแล้ว ยังเป็นไปได้ที่จะได้รับคำแนะนำว่าปริมาณการฝึกโดยรวมของคุณนั้นต่ำเกินไป ("ต่ำกว่าเป้าหมาย") หรือสูงเกินไป ("สูงกว่าเป้าหมาย")

ความสมดุลนั้นจำเป็นสำหรับพื้นฐานที่มั่นคง

เมื่อปริมาณการฝึกของคุณนั้นดีที่สุดและสมดุล จะหมายความว่าคุณมีความกระตือรือร้นเพียงพอที่จะปรับปรุงสมรรถภาพทางร่างกายของคุณให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ และองค์ประกอบของกิจกรรมของคุณนั้นมีความหลากหลายมากพอที่จะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับการปรับปรุงต่อไปในอนาคต ซึ่งหมายความว่ากิจกรรมของคุณมีเวลาเพียงพอในการออกกำลังแบบแอโรบิกแบบความเข้มข้นสูงและต่ำ ควบคู่ไปกับการออกกำลังแบบไดนามิกเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการไปสู่จุดสูงสุดของสมรรถภาพของคุณ

มุ่งสู่ชัยชนะ

นักกีฬาทุกคนรู้ว่าการเตรียมความพร้อมคือหนทางสู่ความสำเร็จ zละเพื่อที่จะสำเร็จคุณต้องรู้และเตรียมพร้อมสำหรับความต้องการเฉพาะของความท้าทายที่คุณต้องเผชิญ ด้วยการมีพื้นฐานที่สมดุล คุณสามารถเน้นและนำองค์ประกอบของปริมาณการฝึกซ้อมของคุณไปสู่โปรไฟล์สมรรถภาพที่เข้ากับความต้องการหรือระยะของตารางช่วงเวลาของคุณ

การยืนยันว่าการฝึกของคุณถูกวางเป้าหมายไว้อย่างเหมาะสมผ่านโฟกัสปริมาณการฝึกช่วยให้คุณมั่นใจว่าคุณอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้อง เมื่อเข้าใจและใช้งานอย่างเหมาะสมแล้ว ข้อมูลนี้สามารถแปลงเป็นแผนการฝึกสำหรับการทำเป้าหมายของคุณให้สำเร็จได้หลายเป้าหมาย คุณสามารถเห็นได้ง่ายเมื่อกิจกรรมการฝึกของคุณขาดตกบกพร่องในด้านใดด้านหนึ่ง และเมื่อคุณมีพื้นฐานที่มั่นคงแล้ว คุณจะสามารถไปได้ไกลกว่าเดิมโดยทำให้แน่ใจว่าองค์ประกอบของกิจกรรมการฝึกของคุณนั้นตรงกับความต้องการเฉพาะที่แท้จริงของการท้าทายที่คุณต้องเผชิญ

ปริมาณการฝึก: ค่าอธิบายประโยชน์หลักของการฝึกซ้อม

ในผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่รองรับ คุณสามารถรับไอเดียว่าการวิ่งหรือการปั่นส่งผลอย่างไรต่อโฟกัสปริมาณการฝึกของคุณเมื่อคุณทำการบันทึกกิจกรรม ป้ายกำกับรหัสสีใหม่ที่เพิ่มลงในหน้าจอสรุปผลการฝึกจะอธิบายถึงประโยชน์หลักของสิ่งที่คุณเพิ่งทำไปและที่ที่คุณคาดหวังได้ว่าจะได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่

สังเกตว่าพื้นหลังของป้ายเหล่านี้มีรหัสสี (ม่วง ส้ม และฟ้าอ่อน) เพื่อให้เข้ากับแถบแอนแอโรบิก แอโรบิกสูง และแอโรบิกต่ำที่ใช้สำหรับโฟกัสปริมาณการฝึกของคุณ เมื่อกิจกรรมที่ถูกบันทึกไม่ส่งผลต่อหนึ่งในหมวดหมู่ความเข้มข้นหรือไม่สามารถระบุได้ พื้นหลังของป้ายจะเป็นสีเทาและไม่มีข้อความอธิบายถูกแสดงไว้

ที่ด้านล่างของหน้าจอนี้ คุณยังสามารถเห็นปริมาณการฝึกของกิจกรรมได้

การปรับตัวเข้ากับความร้อนและระดับความสูง

Heat and Altitude Acclimation

ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมสามารถส่งผลกระทบอย่างมากกับประสิทธิภาพร่างกายของคุณ ที่ความสูงเพิ่มขึ้นและในสภาวะร้อนชื้น ร่างกายของคุณจะถูกบังคับให้ทำงานหนักมากยิ่งขึ้นกว่าปกติเพื่อสร้างสมรรถภาพให้เหมือนกับสภาพแวดล้อมที่สบายมากกว่า

อย่างไรก็ตาม การสัมผัสกับสภาวะที่ท้าทายเหล่านี้จะทำให้เกิดกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม การปรับตัวคือการเปลี่ยนทางสรีรวิทยาที่ช่วยให้คุณทำงานได้ในสภาวะใหม่ที่ท้าทายยิ่งขึ้น

อุปกรณ์ Garmin ที่เลือกจะรับรู้โดยอัตโนมัติเมื่อคุณอยู่ในระดับความสูงที่สูงหรืออยู่ในสภาวะที่ร้อน ข้อมูลเชิงลึกการปรับตัวเข้ากับความร้อนและระดับความสูงถูกจัดให้มีตามกิจกรรมที่ดำเนินการเหนือ 800 เมตร (2,625') และที่อุณหภูมิมากกว่า 22 C (72F) ข้อมูลทางสภาพแวดล้อมนี้มาจากการรวมของ GPS และรายงานสภาพอากาศจากสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อของคุณ

ร่างกายของคุณไม่สามารถและจะไม่เปลี่ยนชั่วข้ามคืน การปรับตัวต้องใช้เวลาและต้องการการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมซ้ำ ๆเป็นประจำ เมื่อคุณออกจากสภาวะที่ท้าทาย ร่างกายของคุณจะเริ่มกลับเป็นปกติ อุปกรณ์ Garmin ของคุณเข้าใจกระบวนการนี้และรวมข้อมูลทางสภาพแวดล้อมและสมรรถภาพเพื่อเปิดเผยสถานะการปรับตัวปัจจุบันของคุณ การเฝ้าติดตามจะช่วยให้คุณปรับความคาดหมายและเป้าหมายของร่างกายของคุณ

การรับรู้อัตโนมัติและการคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมและประสิทธิภาพยังทำให้มั่นใจได้ถึงความสมบูรณ์ของข้อมูลการฝึกของคุณ การควบคุมเพซการวิ่งปกติของคุณในระหว่างที่มีคลื่นความร้อนไม่ได้หมายความว่าความแข็งแรงของหัวใจและหลอดเลือดของคุณ (VO2 max) นั้นตกลง เช่นเดียวกับการพักหายใจในระหว่างการเดินทางขึ้นภูเขา ไม่ได้หมายความว่าการฝึกของคุณไม่มีประสิทธิผล

ใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะปรับตัวกับความร้อนและความชื้นได้?

ความเร็วที่ร่างกายของคุณสามารถปรับตัวได้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หนึ่งในปัจจับที่สำคัญที่สุดคือความแตกต่างระหว่างสภาวะที่คุณกำลังปรับตัวไปสู่และสภาพแวดล้อมปกติของคุณ การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ขึ้น จะใช้เวลานานขึ้นในการปรับตัว อีกปัจจัยคือความถี่และระยะเวลาของการออกกำลังของคุณ

หลักฐานแสดงให้เห็นว่าการสัมผัสต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกลางแจ้งประจำวันที่ยางนานสามารถสร้างการปรับตัวที่จำเป็นได้ในเวลาเพียง 1 ถึง 2 สัปดาห์ นักกีฬาที่มีค่า VO2 max ที่สูงกว่ามักปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่ท้าทายได้ในอัตราที่เร็วกว่า บางครั้งลดระยะเวลาปรับตัวได้เกือบครึ่ง

ความจำเพาะของการปรับตัวเข้ากับความร้อน

สมรรถภาพด้านกีฬาเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนพลังงานที่เก็บในโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน สิ่งนี้จะสร้างความร้อน ในระหว่างกิจกรรมทางกายภาพแบบเข้มข้น ร่างกายของคุณสามารถเทียบได้กับเครื่องทำความร้อน 1000 วัตต์ในแง่ของการผลิตความร้อน การกำจัดความร้อนส่วนเกินนี้ออกเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการคงไว้ซึ่งอุณหภูมิร่างกายที่ดีและปกติ

การไหลเวียนของเลือดใกล้กับผิวหนังช่วยคลายความร้อนได้ กระบวนการทำความเย็นตามธรรมชาตินี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อคุณเหงื่อออก เนื่องจากการระเหยของเหงื่อมีผลการทำความเย็นตามธรรมชาติบนผิวหนังของคุณ

ไม่น่าประหลาดใจ ร่างกายของคุณจะกำจัดความร้อนส่วนเกินออกได้ง่ายในตอนเช้าที่อากาศเย็น เมื่อเทียบกับตอนบ่ายหน้าร้อนที่มีอากาศร้อนชื้น สภาพแวดล้อมของคุณมีผล การปรับตัวที่เกิดขึ้นโดยสภาพอากาศที่ร้อนมุ่งเน้นไปยังการปรับปรุงประสิทธิผลของระบบทำความเย็นตามธรรมชาติของร่างกายของคุณ

สิ่งนี้รวมถึงการปรับตัวที่ช่วยให้คุณเสียเหงื่อมากขึ้นและเริ่มเสียเหงื่อเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยให้เลือดไหวเวียนได้เร็วยิ่งขึ้นใต้ผิวหนังของคุณ การปรับตัวหลักอื่น ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงไปยังระบบหลอดเลือดหัวใจของคุณและสมดุลอิเล็กโตรไลท์ที่เพิ่มเสถียรภาพและช่วยรองรับความเครียดของวัฏจักรไฮเดรชันและดีไฮเดรชันที่เพิ่มขึ้น

ความจำเพาะของการปรับตัวเข้ากับระดับความสูง

ที่ระดับความสูง 10,000' (3,000 เมตร) ปริมาณของออกซิเจนในอากาศมีเพียงประมาณ 70% เมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเล ซึ่งหมายความว่าหัวใจ ปอด และระบบไหลเวียนโลหิตของคุณต้องทำงานหนักขึ้นที่ระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นเพื่อส่งปริมาณออกซิเจนเท่าเดิมไปยังกล้ามเนื้อของคุณสำหรับการสร้างพลังงานแอโรบิก

การปรับตัวที่เกิดขึ้นโดยการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่ระดับความสูงเพิ่มขึ้นมุ่งเน้นไปที่ความจุของปอดที่เพิ่มขึ้นและการเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่ส่งโดยเม็ดเลือดแดงในเลือดของคุณ แรงดันเพิ่มขึ้นในเส้นเลือดแดงที่วิ่งไปยังปอด ซึ่งบังคับการไหลเวียนของเลือดไปยังพื้นที่ของปอดของคุณซึ่งโดยปกติไม่ได้ใช้ที่ระดับความสูงที่ต่ำ เซลล์เม็ดเลือดแดงช่วยให้มีออกซิเจนมากขึ้นกว่าปกติเพื่อให้ขนส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อของคุณทุกการเต้นของหัวใจ

ข้อเท็จจริงว่าการปรับตัวในการเพิ่มสมรรถภาพเหล่านี้จะไม่ย้อนคืนโดยทันทีเมื่อคุณกลับไปยังระดับความสูงที่ต่ำคือพื้นฐานสำหรับการฝึกที่ระดับความสูงสำหรับนักกีฬา

คุณสมบัติ ClimbPro

ClimbPro Feature

ClimbPro ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักวิ่งจัดการควบคุมการออกแรงในสองวิธีต่อไปนี้:

  • ClimbPro จะแสดงการปีนที่จะมาถึงในเส้นทาง ซึ่งบอกว่าจะเกิดที่ระยะทางเท่าใด และความยาวและการไต่ระดับของการปีนเป็นอย่างไร ข้อมูลนี้สามารถเข้าถึงได้ในการแสดงตัวอย่างเส้นทางและยังสามารถใช้งานเป็นหน้าจอในห่วงจับเวลาในขณะทำกิจกรรม
  • สำหรับการปีนแยก หน้าจอ ClimbPro เฉพาะจะปรากฏโดยอัตโนมัติเมื่อนักวิ่งกำลังเข้าสู่การปีน หน้าจอนี้แสดงตำแหน่งการไตร่ระดับของนักวิ่งเช่นเดียวกับระยะทาง ระดับการขึ้น และการไต่ระดับเฉลี่ยที่เหลืออยู่สำหรับการปีนนั้น สิ่งนี้จะอัปเดตอย่างต่อเนื่องในขณะที่นักวิ่งกำลังวิ่งขึ้นไปบนสุด

การปีนถูกจัดหมวดหมู่อย่างไร?

คุณสมบัติถูกออกแบบมาเพื่อช่วยนักวิ่งในขณะการปีนที่มีควาสำคัญมากกว่าโดยจะไม่ตรวจจับทุกจุดที่เป็นเนิน เราคาดหวังว่าจะปรับอัลกอริทึมนี้อย่างต่อเนื่องเมื่อเราได่รับผลตอบรับมากขึ้นเรื่อย ๆ จากนักวิ่งทั่งโลก ซึ่งตอนนี้ได้จัดหมวดหมู่การปีนตามเกณฑ์ต่อไปนี้:

  • ระยะทางการปีน (เมตร) คูณกับเปอร์เซ็นต์ของการไล่ระดับโดยเฉลี่ยควรมากกว่า 3,500
  • การปีนต้องมีความยาวอย่างน้อย 500 เมตร
  • การไล่ระดับเฉลี่ยต้องมีอย่างน้อย 3%

สีต่าง ๆ หมายถึงอะไร?

สีจะบ่งชี้การไล่ระดับของการปีนในวิธีต่อไปนี้:

  • ในรายการแสดงตัวอย่างการปีน สีจะบ่งชี้การไล่ระดับเฉลี่ยโดยรวมสำหรับการปีน
  • บนหน้าการปีนแยก สีจะบ่งชี้การไล่ระดับเฉลี่ยสำหรับส่วนที่ไฮไลท์

นักวิ่งต้องทำอะไรเพื่อให้ ClimbPro ใช้งานได้?

  • นักวิ่งต้องไปตามเส้นทางที่มีข้อมูลการยกระดับ เส้นทางนี้สามารถมาได้จาก Garmin Connect หรือแพลตฟอร์มภายนอกและควรมีรูปแบบไฟล์ .fit

คำแนะนำการออกกำลังกายรายวัน

Daily Suggested Workouts Feature

การเดินทางเป็นพันไมล์เริ่มต้นด้วยก้าวแรก และเมื่อเป็นเรื่องการบรรลุเป้าหมายฟิตเนสโดยรวมและเป้าหมายประสิทธิภาพร่างกายที่ดีขึ้นนั้น สิ่งที่คุณทำวันนี้คือสิ่งสำคัญที่สุด คุณสมบัติคำแนะนำการออกกำลังกายรายวันบนนาฬิกา GPS ของ Garmin และคอมพิวเตอร์จักรยานที่เลือกผสมผสานวิทยาศาสตร์การกีฬากับฟิตเนส ข้อมูลกิจกรรมและวิถีชีวิตที่ถูกตรวจจับโดยอุปกรณ์ของคุณเพื่อคอบคำถามที่สำคัญนี้: คุณควรทำอะไรวันนี้?

เป้าหมายอย่างกว้างของการออกกำลังกายที่แนะนำเหล่านี้มีเพื่อช่วยให้คุณปรับปรุงระดับฟิตเนสของคุณ (VO2 max) ซึ่งแปลงเป็นความสามารถสมรรถภาพแบบแอโรบิก ยิ่งไปกว่านั้น การทำการออกกำลังกายที่แนะนำเป็นประจำจะช่วยให้คุณบรรลุโหลดการฝึกที่ดีที่สุดด้วยการใช้แรงที่หลากหลายซึ่งมีความสมดุลอย่างเหมาะสมสำหรับการพัฒนาของคุณ

แต่ละคำแนะนำการออกกำลังกายถูกออกแบบมาเพื่อให้ระดับความท้าทายที่เหมาะสมในขณะที่ตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะหรือปรับปรุงด้านสมรรถภาพร่างกายโดยเฉพาะ ขึ้นอยู่กับความสามารถของอุปกรณ์ Garmin ของคุณ บางปัจจัยหรือปัจจัยทั้งหมดต่อไปนี้จะถูกพิจารณาเมื่อทำการสร้างคำแนะนำการออกกำลังกาย: ปริมาณการฝึกปัจจุบัน โฟกัสปริมาณเวลาการฟื้นฟู ข้อมูลการนอนหลับ และโปรไฟล์ของการออกกำลังกายล่าสุด

ในบางวัน คำแนะนำการออกกำลังกายจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานความอึดของคุณหรือช่วยเหลือในการฟื้นฟู ในวันอื่น ๆ จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาความสามารถสมรรถภาพแบบแอโรบิกสูงสุด รวมไปถึงความสามารถในการทนต่อการออกแรงแบบเข้มข้นสูงสุด การวิ่งแบบ interval แบบหลายเซ็ทและเซสชั่นเพิ่มความเร็ว คำแนะนำในการออกกำลังกายใช้ประโยชน์จากความสามารถในการออกกำลังบนอุปกรณ์ที่มีมายาวนานของ Garmin ที่ให้คำแนะนำแบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถบอกคุณว่าเมื่อใดที่คุณควรเพิ่มระดับความเข้มข้นและเมื่อใดที่ควรลดระดับลง สิ่งนี้จะป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะในระหว่างกิจกรรมที่ทีความเข้มข้นต่ำซึ่งสามารถทำให้มองข้ามเป้าหมายได้ง่าย

เหมือนกับโปรแกรมการออกกำลังกายที่ดีอื่น ๆ ความต่อเนื่องและความหลากหลายคือสิ่งสำคัญสู่ความสำเร็จ องค์ประกอบเหล่านี้ถูกสร้างเป็นระบบแนะนำการออกกำลังกาย การทำการออกกำลังที่แนะนำเป็นประจำจะช่วยให้คุณยังคงอยู่ในเส้นทางและยังคงปรับปรุงอยู่เรื่อย ๆ บนบางอุปกรณ์ คุณจะพบการผสมผสานของสัปดาห์การฝึกแบบเบา สัปดาห์การฝึกแบบหนัก และบางอย่างที่อยู่ระหว่างนั้นเมื่อเวลาผ่านไป รูปแบบเหล่านี้สอดคล้องกับวิธีการกำหนดระยะเวลาการฝึกได้จัดทำมาอย่างดีที่ใช้งานโดยนักวิทยาศาสตร์การกีฬาและนักสรีรวิทยาการออกกำลังกายชั้นนำ

หากคุณกำลังทำตามแผนการฝึกเฉพาะที่มีกำหนดการออกกำลังกายที่มุ่งเป้าไปที่อีเว้นท์เฉพาะ แผนที่ดาวน์โหลดจาก Garmin Connect (ไม่ว่าจะเป็นแผนของ Garmin หรือแผนที่คุณสร้างขึ้น) หรือแผนที่ดาวน์โหลดจากบุคคลที่สาม แผนการฝึกออกกำลังกายเหล่านี้จะมีลำดับความสำคัญมากกว่าการออกกำลังกายที่แนะนำประจำวัน คุณจะยังคงค้นหาการออกกำลังกายที่แนะนำได้ในเมนูการออกกำลังกาย แต่แผนการฝึกการออกกำลังกายของคุณจะใช้เป็นหลักในข้อความแจ้งบนนาฬิกาของคุณ

Training Effect

A watch screen showing training effect.ถ้าคุณเหมือนคนส่วนใหญ่ที่มาออกกำลังกายเพราะมุ่งหวังในผลลัพธ์ เนื่องจากวิธีที่ร่างกายของเราทำงาน ประเภทของการออกกำลังกายสามารถบ่งบอกได้ว่าคุณจะได้รับผลลัพธ์แบบใด และสภาพร่างกายแบบใดที่คุณจะมีในอนาคต

Training Effect คือการวัดผลแบบแอบดูตอนจบว่าการเทรนนิ่งแต่ละครั้งจะให้ผลลัพธ์ต่อระดับสมรรถภาพในอนาคตของคุณอย่างไร แน่นอนว่าหากต้องการได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการออกกำลังกาย ก็จะต้องจัดตารางพักผ่อนให้เหมาะสมด้วย

การใช้ Training Effect อย่างง่ายๆ ที่สุดแบบหนึ่งก็คือใช้สร้างสมดุลให้การออกกำลังกาย เพื่อรักษาระดับและปรับปรุงระดับสมรรถภาพในปัจจุบันของคุณ (ดูที่ VO2 max)

Training Effect สร้างขึ้นจากการออกกำลังกายของคุณและอัปเดทแบบเรียลไทม์ คุณจึงสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลแบบพกพาที่ช่วยให้คุณจัดสรรการออกกำลังกายให้ตรงกับความต้องการของตัวเองโดยเฉพาะ คุณสามารถผลักดันตัวเองให้ออกกำลังหนักกว่าเดิมเมื่อต้องการพัฒนา หรือทำให้ตัวเองช้าลงก่อนที่คุณจะไปถึงระยะที่เหนื่อยมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ

Training Effect ทางแอโรบิค

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค:

  • พัฒนากระบวนการผลิตพลังงานที่ใช้ออกซิเจน
  • นำไขมันไปใช้สร้างพลังงาน
  • อดทนและแข็งแรงมากขึ้น
  • ทำให้สมรรถภาพในการออกกำลังกายยาวนานขึ้น

มีเฉพาะในนาฬิกา Garmin บางรุ่นเท่านั้น การวัดนี้ช่วยบอกประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ซึ่งควรสอดคล้องกับการปรับปรุงสุขภาพที่คุณหวังจะได้รับ เมื่อคุณพบกับทางวิ่งที่ยาก โดยทั่วไปคุณจะต้องใช้กำลังกายแบบแอโรบิคให้มากขึ้นเพื่อ Training Effect ที่ดีขึ้น ข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อคุณหรือไม่ Training Effect ใช้อัตราการเต้นของหัวใจเพื่อวัดความเข้มข้นของการออกกำลังกายสะสมจากสุขภาพด้านออกซิเจน และเป็นตัววัดที่ดีว่าคุณสามารถรักษาระดับสมรรถภาพในปัจจุบัน หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นได้หรือไม่

Aerobic Training Effect เหมือนกับฟีเจอร์ดั้งเดิมที่มีในนาฬิกา Garmin รุ่นก่อนๆ แตกต่างกันที่สเกลที่ปรับปรุงใหม่สำหรับการออกกำลังกายสั้นๆ ง่ายๆ ที่แทบไม่มีผลอะไรกับ Training Effect พูดให้ง่ายๆ ก็คือ เราได้เพิ่ม “0” เข้าไปที่ด้านล่างของสเกล

ทางเทคนิค Aerobic Training Effect คือการใช้ออกซิเจนหลังการออกกำลังกายที่มากเกินไป (EPOC) ทีสะสมขึ้นในระหว่างการออกกำลังกาย มีระดับสเกลที่ 0-to-5 เพื่อวัดระดับสมรรถภาพและกิจวัตรการเทรนของคุณ กล่าวคือ ถ้าคุณแข็งแรงขึ้น คุณก็จำเป็นต้องออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อจะได้เห็นผลของความเปลี่ยนแปลงต่อไป ดังนั้น เมื่อช่วงของการออกกำลังกายสร้าง EPOC ที่ 60 ml-O2/กก. จะสามารถมอบประโยชน์ของการออกกำลังกายให้แก่คุณหากคุณไม่ได้สุขภาพดี แต่แทบจะไม่มีผลอะไรเลยถ้าคุณเป็นคนสุขภาพดีอยู่แล้ว ในขณะที่ Training Effect สะท้อนความจริงด้วยการให้ตัวเลขที่สูงขึ้นแก่กรณีแรกมากกว่ากรณีที่สอง

หมายเหตุ: สเกล Training Effect สำหรับแอโรบิคและแอนแอโรบิค คือ 0 – ไม่ใช้, 1 – ใช้น้อย, 2 – รักษาระดับ, 3 – พัฒนา, 4 – พัฒนาขึ้นมาก, 5 – มากเกินไป

Training Effect แบบแอนแอโรบิค

Anaerobic training:

  • พัฒนากระบวนการผลิตพลังงานที่ไม่ใช้ออกซิเจน
  • ความสามารถในการออกตัว
  • ความทนทานต่อความเหนื่อย
  • ทำให้สมรรถภาพในการออกกำลังกายสูงขึ้น

ไม่มีการวัดค่าใดเป็นพิเศษสำหรับ Effect นี้ อย่างไรก็ดีปัจจัยของสมรรถภาพส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับ Anaerobic Training Effect ซึ่งคือความสามารถที่จะออกตัวได้ดีและออกตัวซ้ำๆ ได้ การเล่นฟุตบอลคือตัวอย่างที่เห็นชัด เกมฟุตบอลคือกิจกรรมที่มักมีเรื่องเกิดขึ้นกะทันหันและต้องออกตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ความเข้มข้นสูง

วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดของร่างกายในการเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงานต้องการออกซิเจน แต่บางครั้งความต้องการพลังงานก็เกินอัตราที่ออกซิเจนที่มีอยู่จะเพียงพอ โชคดีที่ร่างกายของเรามีกระบวนการรองรับและรอได้ ขณะที่ออกซิเจนไม่เพียงพอ กระบวนการผลิตพลังงานที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็จะทำหน้าที่แทนและทำให้คุณเคลื่อนไหวต่อไปได้ ข้อเสียคือพลังงานนี้หมดไปเร็วมาก

ขณะที่ Aerobic Training Effect มีผลผูกกับการเพิ่มระดับสมรรถภาพแบบแอโรบิคแบบเห็นชัด กล่าวคือแสดงออกมาในรูปแบบของค่า VO2 max แต่สำหรับ Anaerobic นั้นยุ่งยากซับซ้อนกว่านั้นมากในการพัฒนา

A graph showing analysis of heart rate and speed to derive anaerobic training effect.

ด้วยการวิเคราะห์ทั้งอัตราการเต้นของหัวใจและความเร็ว (หรือพลัง ในกรณีขี่จักรยาน) คุณสมบัติ Anaerobic Training Effect บอกค่าที่ต้องการเพื่อการสร้างพลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจนสำหรับ EPOC ที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องใช้กำลังมาก ยิ่งค่า Anaerobic Training Effect ยิ่งสูง ก็ยิ่งมีประโยชน์ต่อสมรรถภาพของนักกีฬาด้าน anaerobic ของคุณ ตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาที่มีความเข้มข้นสูงมีผลในการปรับปรุงหลายๆ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพ และ Anaerobic Training Effect จะแสดงค่าที่จำเป็นให้แก่คุณ และคุณสมบัติยังก้าวไกลไปอีกขั้น ด้วยการวิเคราะห์ประเภทของการออกกำลังกายที่คุณทำ อุปกรณ์สามารถบอกได้เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้นไปอีกว่าการออกกำลังกายนั้นดีต่อคุณอย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าอุปกรณ์ตรวจจับว่าคุณได้ออกกำลังกายแบบใช้ความเร็วสูงซ้ำๆ หลายครั้ง คุณจะได้ค่า Anaerobic Training Effect ที่ 3.5 พร้อมข้อความว่า “กิจกรรมนี้ช่วยปรับปรุงสมรรถภาพด้าน Anaerobic และความเร็วของคุณเนื่องด้วยใช้ความเร็ว/พลังสูงซ้ำๆ”

ตัวอย่าง Training Effect

ตารางต่อไปนี้จะแสดงตัวอย่างของ Training Effect แบบแอโรบิคและแอนแอโรบิคที่คุณควรจะได้รับจากการออกกำลังกายที่ดี.

ชนิดการวิ่ง แอโรบิคทั่วไป TE แอนแอโรบิคทั่วไป TE
ระยะไกลแบบช้า 2.0 - 3.0การรักษามาตรฐานสมรรถภาพแบบแอโรบิค 0ไม่มีประโยชน์ของแอนแอโรบิค
ขีดจำกัดแบบ 20 นาที 3.5+การพัฒนาขีดความสามารถแลคเทต 0ไม่มีประโยชน์ของแอนแอโรบิค
ช่วงขีดความสามารถแลคเทต 3.0+การพัฒนาขีดความสามารถแลคเทต 0 - 2.0ประโยชน์ของแอนแอโรบิคแบบน้อยที่สุด
ช่วงวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด10 x 50m @
150-200% VO2 max
0 - 2.0ประโยชน์ของแอโรบิคแบบน้อยที่สุด 2.0 - 3.0การรักษาระดับความเร็ว
ช่วงวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด10 x 400m @
100-105% VO2 max
2.0 - 4.0การพัฒนาสมรรถภาพแบบแอโรบิค 3.0 - 4.0การพัฒนาระบบและพื้นฐานแบบแอนแอโรบิค
Speed intervals10 x 400m @
110-115% VO2 max
2.0 - 4.0การพัฒนา VO2 Max 4.0+การพัฒนาสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิคอย่างสูง
การแข่ง 800 เมตร 2.0+การรักษามาตรฐานสมรรถภาพแบบแอโรบิค 2.5+การรักษามาตรฐานสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค
การแข่ง 5 กิโลเมตร 3.5+การพัฒนา VO2 Max 1.0 - 2.0ประโยชน์ของแอนแอโรบิคแบบน้อยที่สุด
การแข่ง 10 กิโลเมตร 4.0+การพัฒนา VO2 Max อย่างมาก 0.0 - 2.0ประโยชน์ของแอนแอโรบิคแบบน้อยที่สุด
โปรดทราบว่าค่า Training Effect และวลีต่าง ๆ ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างให้เห็นภาพเท่านั้น คุณอาจได้รับประสบการณ์ที่ต่างออกไปขึ้นอยู่กับกิจวัตรการฝึกส่วนตัวของคุณ ตัวอย่างเช่น คุณรวมเอาการเดินก้าวยาวหรือหรือวิ่ง Fartlek เข้าไปในการวิ่งเอาระยะทางของคุณด้วย ซึ่งวิธีเหล่านี้จะเพิ่ม Training Effect แบบแอนแอโรบิคได้
อาจต้องใช้การฝึกหลายเซสชั่นเพื่อให้นาฬิกาเรียนรู้พารามิเตอร์สมรรถภาพร่างกายของคุณและให้ผลที่แม่นยำที่สุด เช่นเดียวกับคุณสมบัติ Garmin Firstbeat อื่น ๆ อีกหลายชนิด ระหว่างที่อุปกรณ์นี้กำลังเรียนรู้เกี่ยวกับตัวคุณ คุณอาจได้เห็นค่า Training Effect ที่ไม่ปกติได้

Lactate Threshold

A graph showing lactate threshold at 90% of an athlete’s maximum heart rate.

ค่า Lactate Threshold ของคุณคือระดับที่เจาะจงของแรงหรือการก้าวเมื่อเกิดความเหนื่อยล้าขึ้น สำหรับนักวิ่งที่ฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี มักจะเกิดขึ้นเมื่อไปถึงประมาณ 90% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดในช่วงก้าวระหว่างระยะ 10 กิโลเมตร ถึงช่วงก้าวในการแข่งขันฮาล์ฟ มาราธอน สำหรับนักวิ่งที่ประสบการณ์น้อยกว่า ค่า Lactate Threshold มักจะต่ำกว่า 90% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด

เลือกอุปกรณ์ Garmin ที่สามารถตรวจจับค่า Lactate Threshold ของคุณไม่ว่าจะในระหว่างการฝึกซ้อมหรือการวิ่งธรรมดาโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าแบบไหน ด้วยการรวบรวมข้อมูลการเต้นของหัวใจจากการก้าวหลายๆ แบบ อุปกรณ์จะประเมินค่า Lactate Threshold ของคุณและแสดงผลทั้งแบบระยะการก้าวของการวิ่งและระดับอัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด แนะนำให้วิ่งหลายๆ ครั้งหลังจากที่เริ่มใส่นาฬิกาเพื่อที่อุปกรณ์จะได้เรียนรู้ระดับสมรรถภาพของคุณอย่างเที่ยงตรง หลังจากนั้นเมื่ออุปกรณ์ตั้งค่าดีแล้ว ค่า Lactate Threshold ในครั้งต่อๆ มาจะเที่ยงตรงมากขึ้นกว่าตอนแรก

ในอดีต นักกีฬาที่ต้องการใช้ค่า Lactate Threshold เพื่อควบคุมการฝึกซ้อมของตัวเองแบบเฉพาะตัวจะต้องตรวจเลือดเพื่อให้ทราบค่า Lactate สะสมระหว่างที่ฝึกซ้อม จึงทำให้มีนักกีฬาจำนวนน้อยมากๆ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลจากการฝึกซ้อมอันมีค่า

วิธีการ Firstbeat ของการตรวจวัดค่า Lactate Threshold ที่ใช้ในอุปกรณ์ Garmin มาจากอัตราการหายใจ กล่าวคือ คุณหายใจแรงแค่ไหน สามารถตรวจวัดได้ผ่านการวิเคราะห์ความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจ กระบวนการหายใจเข้าและหายใจออกผลิตความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยระหว่างช่วงรอบของการเต้นของหัวใจ (HRV) เมื่อความเคลื่อนไหวนี้ถูกถอดรหัสและรวมเข้ากับข้อมูลสมรรถภาพด้านอื่นๆ อุปกรณ์ของคุณจะสามารถแยกการเปลี่ยนแปลงกะทันหันในอัตราการเต้นของหัวใจได้เพื่อบ่งชี้ว่าคุณกำลังออกแรงเกินกว่า Lactate Threshold ของคุณ

คุณจะนำไปใช้ได้อย่างไร ค่า Lactate Threshold ของคุณคือตัวบ่งชี้แบบเดี่ยวที่ดีที่สุดของสมรรถภาพความทนทานของคุณ เมื่อคุณสามารถวิ่งระยะไกลด้วยการเพิ่มจำนวนก้าวให้เร็วขึ้น คุณจะเห็นค่า Lactate Threshold ของคุณเพิ่มขึ้นตาม ตัววัดนี้คือแหล่งข้อมูลที่มีค่าสำหรับการแบ่งโซนการฝึกซ้อมรายบุคคลเพื่อกระตุ้นสมรรถภาพของแต่ละคน นั่นเป็นเพราะว่าการฝึกซ้อมของคุณจะถูกอ้างอิงจากการถ่ายโอนสถานะทางสรีรวิทยาในร่างกาย แทนที่จะใช้เปอร์เซ็นต์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด

การรู้ค่า Lactate Threshold ของตัวเองทำให้คุณสามารถฝึกซ้อมได้ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น ผู้ฝึกสอนหลายคนแนะนำให้การฝึกซ้อมการวิ่งบางชนิดใช้ค่า Lactate Threshold เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการฝึกซ้อมทั้งหมด คุณสมบัติค่า Lactate Threshold ในอุปกรณ์ Garmin ที่รองรับทำให้คุณสามารถรู้ขีดจำกัดของตัวเอง โดยไม่ต้องจ่ายแพงๆ เป็นค่าผลทดสอบตัวอย่างเลือดมากมายหลายชนิดจากแล็บ

การทำนายการแข่ง

A watch screen showing race predictor.เมื่อตั้งค่า VO2 เรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์ของคุณจะตั้งเป้าหมายเวลาที่ใช้แข่งขันตามสถานะสุขภาพในปัจจุบันของคุณ เวลาที่ใช้แข่งขันที่ตั้งไว้ เช่น ระยะทาง 5 กม., 10 กม., ฮาล์ฟ มาราธอน และมาราธอน ซึ่งจะช่วยให้คุณพยายามเร็วขึ้นหรือช้าลงตามค่าสุขภาพที่สูงขึ้นหรือลดต่ำลง ทุกระยะทางการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะไกล เช่น มาราธอน มีปัจจัยมากมายที่จะช่วยนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงกว่าแค่สุขภาพดี มีพลัง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมคุณจึงควรฝึกซ้อมให้ดีก่อนที่จะไปลงแข่ง เพื่อทำให้ตัวเองทำได้ดีที่สุดในการเข้าสู่เส้นชัยตามระยะเวลาที่คุณคาดหวัง และโปรดจำไว้ว่า เวลาที่ใช้เข้าเส้นชัยเป็นแค่เพียงความคาดหวังเท่านั้น แต่เวลาที่ใช้ไปนี้เป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้คุณได้เห็นว่าคุณสามารถคาดหวังผลที่ออกมาได้มากเพียงใด และให้ข้อมูลทางสรีรวิทยาของคุณ นอกจากนี้ยังเป็นเป้าหมายที่ดีที่จะต้องพยายามไปให้ถึง

ความอึดแบบเรียลไทม์

A watch screen showing race predictor.ความอึดแบบเรียลไทม์ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยนำทางให้คุณวิ่งได้ดีที่สุด เสริมสร้างกำลังให้คุณก้าวข้ามขีดจำกัดตัวเองด้วยความมั่นใจ ให้คุณได้รับผลตอบรับจากร่างกายของคุณ และข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าไปพร้อมกัน เวลาและระยะทางในการประมาณการความอ่อนล้าคาดการณ์สิ่งที่คุณคาดมาจากความอึดที่เหลืออยู่ที่การออกแรงปัจจุบันของคุณ

ความอึดอธิบายความสามารถของสมรรถภาพที่มีคุณภาพที่ดีของคุณ เมื่อความอึดกำลังจะหมดหมายถึงการถึงหรือกำลังไปถึงจุดเป้าหมายนั้นจะยากและทรมานมากขึ้น การทำงานหนักของคุณส่งผลต่อความรวดเร็วในการใช้ความอึดระหว่างทำกิจกรรม

ความอึด (0-100%) สะท้อนว่าคุณมีแรงเหลือเท่าใดที่ระดับการออกแรงปัจจุบันของคุณ ทัศวิสัยนี้รวมความเหนื่อยล้าทั่วไปกับขีดจำกัดชั่วคราวอื่น ๆ ที่กำหนดโดยการออกแรงการขับเคลื่อนแบบแอนแอโอบิกเช่น การวิ่งเร็ว การปีน และการเคลื่อนที่แบบรวดเร็ว

ศักยภาพความอึด (0-100%) มุ่งเน้นโดยเฉพาะไปที่ผลของความเหนื่อยล้าในวงกว้างและยาวนานมากขึ้นเช่น ความเสียหายของเซลล์กล้ามเนื้อ ความเหนื่อยล้าของระบบประสาทส่วนกลาง และการสูญเสียคาร์โบไฮเดรต (ไกลโคเจน)กิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียศักยภาพความอึดทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดโดยทั่วไปจำเป็นต้องใช้การฟื้นฟูหลายวันก่อนที่คุณจะกลับไปมีความสามารถอย่างเต็มที่

หากคุณไม่ได้ฟื้นฟูเต็มที่จากกิจกรรมล่าสุดของคุณ ศักยภาพร่างกายของคุณจะไม่เป็น 100%

หวังให้ความอึดและศักยภาพของคุณนั้นเดินไปด้วยกันในระหว่างออกแรงความเข้มข้นระดับปานกลางอย่างคงที่ เมื่อเพิ่มความเข้มข้น เกินค่าเกณฑ์แลคแตท (การวิ่ง) หรือ FTP (การปั่น) ของคุณ ทำให้ความอึดถูกใช้งานไปเร็วกว่าศักยภาพของคุณ กลับไปออกแรงที่สามารถรักษาไว้และระดับปานกลาง ทำให้ความอึดจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามศักยภาพของคุณ เนื่องจากผลกระทบที่หลงเหลือจากการออกแรงแบบแอนแอโรบิกที่มีความเข้มข้นสูงเริ่มบรรเทาลง

การคำนวณความอึด

การติดตามความอึดแบบเรียลไทม์ทำงานโดยรวมเมตริกทางสรีรวิยาของคุณกับการวิเคราะห์หลายระดับของประวัติกิจกรรมระยะยางและล่าสุดของคุณ สิ่งนี้รวมถึงการตรวจสอบระยะเวลาการฝึก ระยะทางที่ไปได้ การสะสมของปริมาณการฝึก และการกระจายปริมาณการฝึกสำหรับรูปแบบที่มีความหมายที่สะท้อนความต้านทานความเหนื่อยล้าและความคงทนส่วนบุคคลสำหรับการออกกำลังแบบแอโรบิกและแอนแอโรบิก

ในขณะที่ระดับฟิตเนสโดยทั่วไปมอบข้อมูลเชิงลึกบางอย่างให้กับความสามารถทางสมรรถภาพของคุณ การปรับตัวในการฝึกกิจกรรมเฉพาะจะส่งผลต่อความสามารถในการคงไว้ซึ่งสมรรถภาพอย่างมาก กล่าวคือ ความสามารถในการวิ่งไม่ได้แปลเป็นความสามารถในการปั่น เช่นเดียวกันกับในทางกลับกัน ด้วยเหตุนี้ การประมาณความอึดแบบเรียลไทม์จึงถูกชี้นำโดยหลักโดยข้อมูลประวัติการวิ่งในระหว่างกิจกรรมการวิ่งและข้อมูลประวัติการปั่นในระหว่างกิจกรรมการปั่น

สภาพสมรรถนะ

A graph showing performance condition over the course of a run.

A watch screen showing performance condition.สำหรับการประเมินค่าเรียลไทม์ของความสามารถปัจจุบันของคุณในการออกกำลังกาย ให้ดูที่ปัจจัยแวดล้อมในการออกกำลังกายของคุณเอง ระหว่าง 6 ถึง 20 นาทีแรกของการวิ่ง การวัดนี้จะวิเคราะห์การก้าว อัตราการเต้นของหัวใจ และความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจ ผลตัวเลขคือการประเมินค่าเรียลไทม์ของความเบี่ยงเบนจากค่าบรรทัดฐาน VO2 max ของคุณ จุดแต่ละจุดบนสเกลแสดง 1% ของ VO2 max ของคุณโดยประมาณ ยิ่งตัวเลขยิ่งสูง คุณยิ่งสามารถออกกำลังกายได้มากขึ้น โปรดทราบว่า ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันบ้างนิดหน่อยในการวิ่งช่วงแรกๆ เพราะอุปกรณ์ใหม่กำลังเรียนรู้ระดับสมรรถภาพของคุณอยู่ ค่าผลลัพธ์จะเสถียรในไม่ช้า และการตรวจสอบปัจจัยแวดล้อมในการออกกำลังกายของคุณจะกลายเป็นตัวบ่งชี้แบบวันต่อวันที่เชื่อถือได้ในการวัดสมรรถภาพของคุณ

A graph showing performance condition declining as a run continues.

นอกจากนี้ ในการวิ่งช่วงแรกๆ คุณสามารถเพิ่มปัจจัยแวดล้อมในการออกกำลังกายของคุณ เช่น เขตข้อมูลไปยังหน้าจอเทรนนิ่ง และคอยดูเมื่อคุณเริ่มวิ่ง ค่าตัวเลขอาจจะเปลี่ยนแปลงน้อยมากถ้าคุณวิ่งขึ้นเนินหรือปะทะกับลมแรง แต่จะสามารถแสดงผลได้ในที่สุดเมื่อคุณเริ่มออกกำลังกายหนักไปสักพักและการวิ่งเริ่มทำให้คุณเหนื่อย นี่คือเป้าหมายในการคอยดูว่าสมรรถภาพของคุณลดลงหรือไม่ขณะที่คุณออกกำลังกาย เพราะตัวเลขนี้จะช่วยบอกคุณว่าร่างกายของคุณทำงานหนักว่าปกติหรือไม่ในการวิ่งที่ระยะการก้าวในปัจจุบันของคุณ ดังนั้น ปัจจัยแวดล้อมในการออกกำลังกายของคุณสามารถเป็นตัวแจ้งเตือนอันดับต้นๆ และช่วยให้คุณปรับเทคนิคก่อนที่คุณจะเหนื่อยเกินไป

การทดสอบ HRV Stress (ในผลิตภัณฑ์รุ่นก่อนๆ คือ ค่าความตึงเครียด)

หากคุณสงสัยว่าร่างกายของคุณพร้อมต่อการวิ่งอย่างหนัก หรือควรจะออกกำลังกายเบาลงหน่อย เป็นการดีที่คุณจะลองดูค่าความตึงเครียดของคุณ เมื่อคุณรู้สึกสดชื่นและได้พักผ่อนร่างกายและจิตใจ คุณจะสามารถดูดซับ Training Effect จากการออกกำลังกายหนักได้ อย่างไรก็ดี การออกกำลังกายหนักแบบเดิมไปเรื่อยๆ อาจส่งผลเสียถ้าคุณเหนื่อยมากเกินไป หรือใกล้จะถึงจุดที่ออกกำลังกายมากเกินไป ค่าความตึงเครียดของคุณคำนวณขึ้นระหว่างการทดสอบ 3 นาที ระหว่างที่กำลังวิเคราะห์ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (HRV) ค่าความตึงเครียดจะแสดงเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 100 ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งแสดงว่ามีสถานะความตึงเครียดน้อย การวัดนี้ช่วยให้คุณประเมินว่ากิจกรรมระดับใดที่ร่างกายของคุณพร้อมรับ ผลลัพธ์จะเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้นถ้าสามารถรวบรวมจากการทดสอบที่ทำในเวลาเดียวกันและภายใต้เงื่อนไขเดียวกันทุกวัน (แนะนำว่าควรทำการทดสอบก่อนออกกำลังกาย) การวัดนี้ยังช่วยให้คุณเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของตัวเองในระดับวันต่อวันและสัปดาห์ต่อสัปดาห์

คุณจำเป็นต้องยืนเพื่อทดสอบ HRV stress เพราะจะทำให้การทดสอบจับระดับความเครียดระดับต่ำและกลางได้มากยิ่งขึ้น เมื่อคุณนอนราบ ระดับความตึงเครียดทั่วไปอาจไม่ปรากฏ แต่การยืนช่วยเพิ่มความหนักไปยังระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจของร่างกายได้เล็กน้อย ความหนักนี้มีผลสำคัญต่อการตกของ HRV เมื่อคุณมีความตึงเครียดระดับทั่วไปเทียบกับความตึงเครียดระดับต่ำมากๆ

ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (HRV)

A graph showing a heart rate variability stress test.

หัวใจของคุณไม่ได้เต้นเป็นจังหวะอย่างสมบูรณ์แบบเสมอเหมือนเครื่องให้จังหวะ ความแปรปรวนของแต่ละจังหวะในอัตราการเต้นของหัวใจนั้นหมายถึงสุขภาพดีและเป็นปกติ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่า Garmin และ Firstbeat ใช้ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อให้คุณได้ข้อมูลที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายของตัวเองอย่างไร ขอเริ่มต้นอธิบายที่ทำไมอัตราการเต้นของหัวใจจึงแปรปรวน

หัวใจของคุณควบคุมด้วยระบบประสาทออโตโนมิค (ANS) ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่นอกเหนือการสั่งการของระบบประสาทของคุณ นอกจากนี้ ANS ยังแยกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ซิมพาเธทิก และ พาราซิมพาเทธิ ส่วนซิมพาเธทิกของ ANS จะทำงานเมื่อคุณอยู่ภายใต้ความตึงเครียดแบบใดก็ตาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ANS ที่ทำให้ทุกระบบตื่นตัว ในทางกลับกัน ส่วนพาราซิมพาเธทิกคือส่วนที่ผ่อนคลายเมื่อคุณพักผ่อนและปลอดภัย เมื่อส่วนซิมพาเธทิกทำงานมากกว่า อัตราการเต้นของหัวใจโดยทั่วไปจะเพิ่มขึ้น และเต้นมากกว่าอัตราปกติ หมายความว่าจะ HRV ลดลง

ในทางกลับกัน เมื่อส่วนพาราซิมพาเธทิกทำงานมากกว่า อัตราการเต้นของหัวใจจะลดลง และเต้นช้าแค่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หัวใจจะไม่เต้นด้วยตารางที่เข้มงวดเหมือนตอนที่ส่วนซิมพาเธทิกเป็นผู้ควบคุม ซึ่งหมายความว่า HRV สูงขึ้น เนื่องด้วยลักษณะดังกล่าว HRV จึงเป็นตัวบ่งชี้ที่ยอดเยี่ยมของสมดุลระหว่างกิจกรรมทั้งสองส่วนของระบบประส่าทออโตโนมิค ดังนั้นจึงถูกนำมาใช้เป็นการวัดความตึงเครียดทางอ้อม ค่า HRV สูงหมายถึงความตึงเครียดต่ำ

มีวิธีการทางสถิติแตกต่างกันไปหลายวิธีที่ใช้เพื่ออธิบาย HRV แต่การทดสอบ HRV stress (ในรุ่นก่อนๆ เรียกว่าคะแนนความตึงเครียด) มีคุณสมบัติที่ช่วยทำให้ชีวิตง่ายขึ้นด้วยการให้ค่าความตึงเครียดของคุณเป็นสเกล 0-ถึง-100 ซึ่งเข้าใจง่าย ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเป็นเครื่องมืออีกหนึ่งตัวที่จะช่วยให้คุณประเมินว่าร่างกายของคุณเป็นอย่างไรบ้าง และจะรับมือกับความตึงเครียดจากการฝึกซ้อมและความเครียดในการใช้ชีวิตได้มากเพียงใด

ถึงแม้ HRV จะลดลงเมื่อคุณเริ่มออกกำลงกายและเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อออกกำลังกายหนักขึ้น แต่ HRV ก็ยังคงให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แม้ว่าคุณจะกำลังวิ่งเร็วมากอยู่ มีในอุปกรณ์ Garmin บางรุ่น คุณสมบัติ Lactate Threshold ที่ใช้ในคุณสมบัติ Firstbeat จะหาจุดที่ HRV เพิ่มขึ้นซึ่งตอบสนองต่ออัตราการเต้นของหัวใจที่สัมพันธ์กับ Lactate Threshold

EPOC

การใช้ออกซิเจนหลังการออกกำลังกายที่มากเกินไปคือภาวะในช่วงเวลาหลังการออกกำลังกาย ร่างกายของคุณจะใช้ออกซิเจนในอัตราสูงต่อเนื่อง ซึ่งมากกว่าอัตราที่ใช้ในเวลาพัก ก็มีเหตุผลดี เมื่อคุณออกกำลังกาย คุณรบกวนสภาวะปกติของร่างกาย และการรบกวนนี้ทำให้ร่างกายต้องทำงานมากกว่าปกติเพื่อจัดการให้การทำงานกลับสู่สภาวะปกติ จริงๆ แล้ว หัวใจของการฝึกซ้อมก็คือหลังจากการออกกำลังกาย ร่างกายของคุณจะสามารถกลับมาเป็นปกติได้และเหลือพลังสำรองอีก “พลังสำรอง” คือ “พลังชดเชยขั้นสูง” ที่ทำให้คุณฟิตมากขึ้นและเร็วกว่าเดิม

การใช้ออกซิเจนของร่างกายสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายใช้ การวัด EPOC จึงดีต่อร่างกายเพราะช่วยบอกปริมาณว่าสภาวะปกติของร่างกาย (โฮมีโอสเตซิส) ถูกรบกวนเท่าใดเมื่อคุณออกกำลังกายหนึ่งเซสชั่น กล่าวคือ EPOC คือการวัดที่ดีมากสำหรับจำนวนหรือโดสของการออกกำลังกาย เพราะ EPOC สามารถบอกปริมาณว่าร่างกายต้องทำงานเท่าใดจึงจะสามารถกลับสู่สภาวะปกติ และเหลือพลังสำรองอีก

A graph showing excess post-exercise consumption derived from heart rate data during exercise.

การวัด EPOC โดยตรงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์แล็บที่ทันสมัยและใช้เวลามาก อย่างไรก็ดี Firstbeat ได้สร้างวิธีการที่จดสิทธิบัตรสำหรับการประเมิน EPOC จากข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจของคุณในระหว่างออกกำลังกาย ค่า EPOC เหล่านี้ประเมินไปถึงแก่นที่เราใช้คำนวณ Training Effects ความหนักของการฝึกซ้อมประจำสัปดาห์ และสถานะการฝึกซ้อมของคุณ

HRV Status

HRV Status

อัตราการผันแปรของการเต้นของหัวใจคืออะไร?

อัตราการผันแปรของการเต้นของหัวใจ (HRV) คือปรากฏการณ์ทางสรีรวิยาที่สามารถถูกบันทึก วิเคราะห์ และตีความได้เพื่อช่วยให้เข้าใจว่าร่างกายของคุณนำทางผ่านความท้าทายของชีวิตและสภาพแวดล้อมอย่างไร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HRV อ้างอิงถึงระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาระหว่างการเต้นของหัวใจที่ต่อเนื่องกัน เมื่อหัวใจของคุณเต้นที่ 60 ครั้งต่อนาที การเต้นของหัวใจไม่ได้ทุกเว้นห่างเท่ากันทุก 1 วินาที ดูอย่างตั้งใจและคุณจะเห็นว่าการเต้นบางครั้งจะน้อยกว่าหนึ่งวินาทีเล็กน้อยและการเต้นครั้งอื่น ๆ จะมากกว่าหนึ่งวินาทีเล็กน้อย ความไม่สม่ำเสมอนี้เป็นเรื่องปกติและมีสุขภาพดี

การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเหล่านี้ระหว่างการเต้นของหัวใจสามารถถูกบันทึกได้อย่างง่ายดายด้วยอุปกรณ์บันทึกที่แม่นยำและมักจะบันทึกในหน่วยมิลลิวินาที อย่างไรก็ตามหากไม่มีความรู้ด้านสรีรวิทยาและวิธีการวิเคราะห์ ปรากฏการณ์ HRV ก็เป็นเพียงแค่ตัวเลข

การวิเคราะห์เชิงสถิติสามารถเปิดเผยรูปแบบที่สำคัญในข้อมูลปริมาณมาก RMSSD เป็นการวัดเชิงสถิติมาตรฐานของ HRV ซึ่งแสดงค่าเฉลี่ยรากที่สองของความแตกต่างที่ต่อเนื่องกันระหว่างการเต้นของหัวใจแบบปกติในชุดข้อมูลการเต้นของหัวใจ วิธีการดูข้อมูล HRV นี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยนักสรีรวิทยาและนักวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายในการตรวจสอบปัจจัยต่าง ๆ เช่น ผลกระทบของปริมาณการฝึกและกระบวนการฟื้นฟู

HRV Status

โชคดีที่คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านสรีรวิทยาหรือวิเคราะห์เชิงสถิติในการได้รับประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกของ HRV อย่างไรก็ตามมีข้อมูลมากมายในเรื่องนี้หากคุณต้องการค้นหาเพิ่มเติม

ทำไม HRV จึงให้ข้อมูลที่มีค่านี้? การทำงานของหัวใจของคุณถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งปรับระบบทางสรีรวิทยาที่หลากหลายเพื่อตอบสนองตต่อความต้องการตามสถานการณ์ ซึ่งหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจจากเวลาหนึ่งไปอีกเวลาหนึ่งสามารถถูกใช้เป็นหน้าต่างดูว่าการทำงานใดเกิดขึ้นภายในระบบประสาทอัตโนมัติ

โดยทั่วไปแล้ว HRV ที่สูงขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานภายในระบบประสาท parasympathetic อัตโนมัติ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าร่างกายของคุณอยู่ในโหมดพักและย่อยอาหาร ในอีกมุมหนึ่ง ค่า HRV ที่ต่ำลงโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการทำงานภายในระบบประสาท sympathetic ที่เพิ่มขึ้นอัตโนมัติ ซึ่งเป็นคัวบ่งชี้ถึงความเครียดในการตอบสนองแบบสู้หรือถอย

นาฬิกา Garmin ที่รองรับของคุณวัด HRV อย่างไร

ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ HRV ถูกบันทึกโดยเซนเซอร์ Elevate HR ที่อยู่บนด้านหลังนาฬิกา เซนเซอร์นี้ใช้แสงสะท้อนในการตรวจจับกระแสเลือดของคลื่นชีพจรเมื่อถูกสูบฉีดโดยหัวใจของคุณผ่านหลอดเลือด ซึ่งหมายความว่าอุปกรณ์ของคุณโดยทางเทคนิคแล้วจะดูความแปรปรวนอัตราชีพจรซึ่งสะท้อนการแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจในบริบทของการวิคราะห์และการใช้งานนี้

อุปกรณ์ Garmin ที่รองรับจะคำนวณค่า HRV อย่างต่อเนื่องในระหว่างที่คุณกำลังนอนหลับ เมื่อคุณตื่นขึ้น คุณสามารถดูค่า HRV เฉลี่ยของคุณที่คำนวณโดยใช้ข้อมูลจากช่วงการนอนทั้งหมด คุณยังสามารถตรวจสอบชาร์ตที่แสดงว่าค่า HRV ของคุณเปลี่ยนแปลงอย่างไรในระหว่างที่คุณกำลังนอนหลับตามการวิเคราะห์ช่วงหน้าต่างที่ 5 นาที

สิ่งนี้มอบข้อดีที่มีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับวิธีการอื่นที่วัดค่า HRV ในระหว่างส่วนหนึ่งของช่วงกลางคืน ในระหว่างขั้นการนอนจำเพาะ หรือเกี่ยวข้องกับการทดสอบที่เวลาเฉพาะของวัน

เนื่องจาก HRV เป็นการวัดเชิงสถิติ ดังนั้นความแตกต่างของเวลาและระยะเวลาของการวัดจึงส่งผลต่อผลลัพธ์ สิ่งนี้ทำให้เป็นความท้าทายในการเปรียบเทียบแบบตัวต่อตัวระหว่างการวัด HRV ที่สร้างด้วยโปรโตคอลทางเลือกและอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน

การตีความ HRV และทำไมเส้นฐานส่วนตัวของคุณเป็นสิ่งสำคัญ

คุณจะสามารถดูค่า HRV เฉลี่ยของคุณและแนวโน้มข้ามคืนได้ในทันทีที่คุณเริ่มใช้อุปกรณ์ เพียงแค่สวมอุปกรณ์ของคุณไปนอนและการวิเคราะห์จะดำเนินการโดยอัตโนมัติ สิ่งที่คุณจะพลาดไปในตอนแรกคือบริบทที่มีความหมายสำหรับการตีความผลลัพธ์ของคุณ

เมื่อพูดถึงการวัดผล HRV ทุกอย่างเริ่มต้นจากคุณ ระดับความแปรปรวนปกติที่ดีต่อสุขภาพสำหรับคุณไม่จำเป็นต้องเหมือนกับคนอื่น บางคนมีช่วงความแปรปรวนที่สูงกว่าโดยธรรมชาติในขณะที่คนอื่นดูเหมือนจะมีความแปรปรวนน้อยกว่า และไม่เพียงเท่านั้น สิ่งที่ดูปกติสำหรับคุณจะเปลี่ยนไปตามเวลา

ดังนั้นประวัติส่วนตัวของคุณเองเป็นเฟรมที่มีความหมายที่สุดในการอ้างอิงสำหรับการตีความข้อมูล HRV ด้วยข้อเท็จจริงนี้ การจดบันทึกค่า HRV ช่วงปกติส่วนตัวของคุณเป็นสิ่งจำเป็นขั้นแรกในการทำให้ข้อมูล HRV ของคุณสามารถใช้งานได้

ซึ่งจะต้องใช้เวลา ในทางปฏิบัติแล้วจะหมายความว่าคุณจำเป็นต้องสวมอุปกรณ์ Garmin ข้ามคืนเป็นประจำประมาณสามสัปดาห์ก่อนที่สถานะ HRV จะใช้งานได้เต็มรูปแบบ ในขณะที่สามสัปดาห์เป็นเวลาขั้นต่ำที่จำเป็นในการวัดเส้นฐานส่วนตัวของคุณ การวิเคราะห์สามารถใช้ข้อมูลหลายเดือนได้เพื่อเสริมและตรวจสอบความถูกต้องของช่วงเส้นฐานของคุณเมื่อมีข้อมูลเหล่านี้

แนวคิดหลัก: เส้นฐาน HRV ของคุณมีค่าเป็นช่วง (เช่น 33-45 มิลลิวินาที) ซึ่งได้มาจากประวัติการวัดของคุณที่แสดงถึงระดับความแปรปรวนปกติส่วนตัวของคุณ เส้นฐานของคุณคือเลนส์ที่ทำให้การวัด HRV ในอนาคตสามารถตีความได้อย่างมีนัยสำคัญ

เมื่อช่วงเส้นฐานของคุณได้รับการระบุ ค่า HRV ตลอดคืนของคุณจะถูกใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลเชิงลึกจากคุณสมบัติ Garmin อื่น ๆ คุณสมบัติอื่นเหล่านี้รวมถึงสถานะการฝึกปัจจุบันของคุณและการประเมินความพร้อมในการฝึกประจำวันบนอุปกรณ์ที่รองรับ

ช่วงเส้นฐาน HRV ของคุณจะไม่อยู่นิ่งและจะเปลี่ยนไปตามเวลา ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจสังเกตุเห็นว่าช่วงความแปรปรวนปกติของคุณต่ำลงหลังจากช่วงการฝึกที่ขยายอออกเมื่อเทียบกับเมื่อคุณมีสภาวะพีค โดยทั่วไปช่วง HRV ปกติยังลดลงตามอายุ

การนำทางวิจิทสถานะ HRV

วิจิทสถานะ HRV บนอุปกรณ์ของคุณมอบมากกว่าหนึ่งมุมมองในติดตามสถานการณ์ของคุณ มุมมองหลักแสดงสถานะ HRV ปัจจุบันของคุณ สถานะของคุณสามารถเป็นสมดุล ไม่สมดุล ต่ำ และแย่ ที่ด้านล่างของหน้าจอแรก คุณสามารถเห็นค่า HRV เฉลี่ยที่วัดในระหว่างคืนก่อนได้

HRV Status

เลื่อนลงและคุณสามารถเห็นค่า HRV เฉลี่ยของคืนก่อน แต่มีรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่คุณจะพบค่า HRV สูงสุดของคุณที่บันทึกทุกช่วง 5 นาทีระหว่างคืน คุณจะยังค้นพบชาร์ตที่แสดงให้เห็นว่าค่า HRV ของคุณเปลี่ยนแปลงระหว่างคืนได้อย่างไร

หน้าจอสุดท้ายแสดงค่า HRV เฉลี่ยของ 7 วันล่าสุดและพล็อตค่า HRV เฉลี่ยข้ามคืนที่บันทึกในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

สถานะ HRV: สมดุล ไม่สมดุล ต่ำ และแย่

เมื่อสถานะ HRV ของคุณคือสมดุล หมายความว่าค่าเฉลี่ย HRV 7 วันของคุณอยู่ภายในช่วงเส้นฐานส่วนตัวของคุณ สถานะ HRV ที่สมดุลโดยทั่วไปแล้วบ่งชี้ว่าร่างกายของคุณรักษาสภาวะสมดุล ซึ่งเป็นสมดุลทางชีวภาพแบบไดนามิกที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทางเลือก

สถานะ HRV ที่ไม่สมดุลหมายความว่าค่าเฉลี่ย HRV 7 วันล่าสุดของคุณอยู่นอกช่วงเส้นฐานส่วนตัวของคุณ โปรทราบว่าสถานะ HRV ที่ไม่สมดุลสามารถเป็นได้ทั้งสูงกว่าหรือต่ำกว่าเส้นฐานของคุณเล็กน้อย

HRV Status

เนื่องจากค่า HRV ที่สูงขึ้นมักเกี่ยวข้องกับภายในระบบ parasympathetic (parasympathetic dominance) อัตโนมัติของคุณ จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะสมมติว่าค่าที่สูงขึ้นจะดีกว่าเสมอจากมุมมองของการฟื้นตัวที่ดี แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามนั้นเสมอไป หลักฐานมากมายแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่า HRV ที่สูงผิดปกติที่สัมพันธ์กับเส้นฐานส่วนตัวของคุณและการทำงานเกินขอบเขต (ฝึกหนักเกิน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเกินขอบเขตนั้นเกิดจากปริมาณกิจกรรมทางภายถาพความเข้มข้นต่ำจำนวนมาก ในสถานการณ์เหล่านี้ ระบบพาราซิมพาเทติกของคุณจะทำงานเชิงรุกไปสู่เป้าหมายในการสร้างภาวะสมดุลขึ้นใหม่

หากค่า HRV เฉลี่ย 7 วันของคุณตกลงอย่างมีนัยสำคัญต่ำกว่าเส้นฐาน สถานะ HRV จะถูกจัดหมวดหมู่ใหม่จากไม่สมดุลเป็นต่ำ

เส้นฐานส่วนตัวของคุณเป็นค่าไดนามิกและเปลี่ยนอย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไปตามแนวโน้มในค่า HRV ตลอดคืนแบบปกติของคุณ หากเส้นฐานส่วนตัวของคุณตกลงต่ำกว่ามาตรฐานตามอายุที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่ดี สถานะ HRV ของคุณจะถูกจัดหมวดหมู่เป็นแย่ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น ช่วงเส้นฐานของคุณจะไม่ถูกแสดงอีกต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ค่า HRV ของคุณอาจถูกพิจารณาว่าสมดุลและต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

ความพร้อมในการฝึก

Training Readiness

ความพร้อมในการฝึกคือข้อมูลเชิงลึกที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณเพิ่มประสิทธิภาพการฝึกให้ได้สูงสุด คุณทำงานหนักเนื่องจากคุณต้องการผลลัพธ์ แต่การก้าวข้ามขีดจำกัดของคุณก่อนที่คุณจะพร้อมนั้นสามารถส่งผลเสียได้ ดูว่าเมื่อใดที่คุณมีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกายหนักและเมื่อใดที่ควรผ่อนลงเพื่อให้ร่างกายของคุณฟื้นฟูตามทัน

ข้อมูลเชิงลึกนี้ได้มาด้วยการช่วยเหลือของการวิเคราะห์แบบหลายชั้นที่พิจารณาการผสมผสานกิจกรรมและข้อมูลวิถีชีวิต ความพร้อมในการฝึกของคุณถูกแบ่งแยกจากแย่ถึงสูงสุด โดยมีประเภทต่ำ ปานกลาง และสูงอยู่ระหว่างกลาง กาตรวจสอบวิจิทจะเปิดเผยให้คุณเห็นถึงคะแนนความพร้อมปัจจุบันและปัจจัยพื้นฐานส่งผลต่อสถานการณ์ปัจจุบันของคุณอย่างไร คุณยังสามารถดูข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานตอนเช้าของคุณได้

ความพร้อมในการฝึกถูกคำนวณอย่างไร

ตัวขับเคลื่อนหลักเบื้องหลังการประเมินความพร้อมในการฝึกคือคุณนอนหลับเมื่อคืนได้ดีเท่าใดและความต้องการการฟื้นฟูที่เหลือจากกิจกรรมล่าสุด ข้อมูลนี้มาจากเวลาการฟื้นฟูของคุณและการติดตามการนอนหลับขั้นสูง ยิ่งกว่านั้น แนวโน้มโหลดการฝึก สถานะ HRV (การแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ) ระดับความเครียดล่าสุด และคุณนอนหลับได้ดีเพียงใดก่อนคืนล่าสุดก็ยังส่งผลต่อผลลัพธ์ของคุณ

  • Training Readiness data on Garmin Connectคะแนนการนอนหลับ – คะแนนการนอนหลับของคุณ (0-100) สะท้อนให้เห็นว่าคุณนอนได้ดีเพียงใดบนพื้นฐานของระยะเวลาที่คุณนอนหลับ การกระจายตัวของขั้นการนอนหลับ และหลักฐานของการทำการฟื้นฟูที่เกิดขึ้นในระบบประสาทอัตโนมัติที่ได้มาจากข้อมูลการแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ การประเมินปริมาณและคุณภาพการนอนหลับเปรียบเทียบการนอนหลับของคุณกับมาตรฐานที่สร้างโดยองค์กรผู้เชี่ยวชาญ
  • เวลาการฟื้นฟู – ตัวนับถอยหลังนี้เปิดเผยว่าเมื่อใดที่คุณคาดหมายได้ว่าร่างกายของคุณการฟื้นฟูเต็มที่จากกิจกรรมล่าสุดระยะเวลาเปลี่ยนไปตามความทุ่มเทของกิจกรรมล่าสุดและชั่วโมง (ถ้ามี) ที่เหลืออยู่บนเวลาการฟื้นฟูที่ตอนเริ่มกิจกรรม การเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญของคุณภาพการนอนหลับ ระดับความเครียด และระดับกิจกรรมทางกายภาพประจำวันของคุณสามารถเพิ่มหรือลดความเร็วของการนับถอยหลังการฟื้นฟูของคุณได้
  • โหลดการวัดความเหนื่อยหล้า – โหลดที่เหมาะสมที่สุดบ่งชี้ว่าผลกระทบรวมของกิจกรรมล่าสุดของคุณเพียงพอที่จะรักษาและปรับปรุงระดับฟิตเนสของคุณโหลดที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของคุณ และเพิ่มความเสี่ยงในการบาดเจ็บได้ หากไม่ได้รับการตรวจสอบเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อคุณบันทึกกิจกรรม ผลกระทบทั้งหมดของกิจกรรมนั้นจะถูกเพิ่มไปยังค่าเฉลี่ยปริมาณการฝึกและคามเหนื่อยหล้าปัจจุบันของคุณ ผลของกิจกรรมนั้นจะค่อย ๆ หมดไปในช่วง 10 วันถัดไป
  • สถานะ HRV – HRV ที่สมดุลหมายความว่าค่าเฉลี่ย HRV 7 วันของคุณอยู่ภายในช่วงเส้นฐานส่วนตัวของคุณ สิ่งนี้เป็นการบ่งชี้ที่ดีว่าร่างกายของคุณประสบความสำเร็จในการนำทางความท้าทายในชีวิต สถานะ HRV ที่ไม่สมดุลอาจชี้ไปที่การขาดการฟื้นฟูที่เพียงพอ โหลดการทำงานที่มากเกินไป การบริโภคแอลกอฮอล์ หรือระบบภูมิคุ้มกันของคุณที่ทำงานเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วย
  • ประวัติการนอนหลับ – คะแนนการนอนหลับของคุณแสดงว่าคุณนอนหลับได้ดีเพียงใดเมื่อคืน แต่การนอนที่ดีหนึ่งคืนไม่ได้กำจัดผลคงค้างของการขาดการนอนหลับได้ ประวัติการนอนหลับคิดปัจจัยว่าคุณนอนหลับได้ดีเพียงใดก่อนเมื่อคืนนี้

    ช่วงเวลาตื่นตัวนานเป็นพิเศษ (เช่น 20 ชั่วโมง) ก่อนการนอนหลับคืนล่าสุดของคุณ ยังลดความพร้อมในการฝึกอีกด้วย

  • ประวัติความเครียด – การติดตามความเครียดตลอดวันสามารถเปิดเผยว่าเมื่อใดที่ทรัพยากรร่างกายของคุณถูกใช้งานเพื่อช่วยให้คุณเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เกี่ยวกับกิจกรรมการฝึก ความเครียดเป็นเรื่องปกติของส่วนหนึ่งของชีวิต แต่การเจอระดับความเครียดที่สูงเป็นช่วงระยะเวลานานสามารถลดความยืดหยุ่นและลดประโยชน์ในการฝึก ประวัติความเครียดของคุณพิจารณาระดับความเครียดจากสามวันก่อนหน้าในขณะที่คุณตื่น

ความพร้อมในการฝึกเปลี่ยนไปตามเวลาอย่างไร

การตรวจสอบความพร้อมในการฝึกเป็นอย่างแรกในตอนเช้าช่วยให้คุณตั้งความคาดหมายอย่างสมเหตุสมผลสำหรับวันของคุณได้

การปรับที่ใหญ่ที่สุดไปยังระดับความพร้อมของคุณเกิดขึ้นเมื่อคุณตื่นนอนในตอนเช้า ตอนนี้คือเวลาที่คะแนนการนอนหลับของเมื่อคืน สถานะ HRV และประวัติการนอนหลับยาวได้ถูกอัปเดตพร้อมกับข้อมูลเชิงลึกภาพรวมจากโหลดการฝึกเฉียบพลันและประวัติความเครียด

ความพร้อมในการฝึกของคุณจะอัปเดตตลอดทั้งวันตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หากคุณมีชั่วโมงเหลืออยู่บนตัวนับถอยหลังเวลาการฟื้นฟู ให้คาดหมายได้ว่าความพร้อมของคุณจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาหมดลง บันทึกกิจกรรมและคุณจะสังเกตได้ว่าการลดลงของความพร้อมในภายหลังที่สะท้อนถึงความต้องการการฟื้นฟูปัจจุบันของคุณ การออกแรงน้อยส่งผลน้อยในขณะที่การออกกำลังหนักสามารถลดความพร้อมของคุณลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

ฉันยังสามารถฝึกในขณะที่ความพร้อมต่ำได้หรือไม่?

เหมือนกับที่โค้ชที่ดีและนักกีฬาที่มีประสบการณ์สามารถบอกกับคุณได้ บางครั้งการมองผ่านไปอาจก็จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า ค่ายการฝึกและบล็อกการฝึกปริมาณมากเป็นวิธีที่ถูกต้องของแผนการฝึกและสามารถได้ประสิทธิภาพที่น่าประทับใจเมื่อใช้งานอย่างเหมาะสม โมเดลการฝึกบล็อกโดยทั้วไปมักมีการชดเชยการโอเวอร์โหลดติดต่อกันหลายวันโดยการขยายช่วงเวลาฟื้นฟู

หากคุณกำลังใช้โมเดลการฝึกแบบบล็อก คุณอาจเห็นคะแนนความพร้อมในการฝึกที่ต่ำลงในระหว่างช่วงโอเวอร์โหลด เทียบกับพื้นหลังนั้น คุณควรตรวจสอบเพื่อดูว่าปัจจัยใดบ้างที่ทำให้คะแนนต่ำนั้น โหลดการฝึกเฉียบพลันที่สูงกว่าปกติและการประมาณเวลาการฟื้นฟูที่นานขึ้นสามารถถูกคาดหมายได้ในขณะการฝึกแบบบล็อก ความพร้อมที่ลดลงที่เกิดจากปัจจัยอื่น (เช่น ประวัติการนอนหลับหรือความเครียดสูง) อาจเป็นเหตุผลให้ประเมินวิธีการของคุณใหม่

ข้อมูลเชิงลึกที่คุณได้จากวิดจิทความพร้อมในการฝึกเป็นเพียงหนึ่งในมุมมองที่คุณควรใช้เพื่อนำทางการออกแรงในการฝึกของคุณ ฟังเสียงร่างกายของคุณ พิจารณาข้อมูลไปพร้อมกับว่าคุณรู้สึกอย่างไรและปรับแผนและความคาดหมายของคุณตามนั้นตลอดเวลา

ความพร้อมในการฝึกเทียบกับความพร้อมของสมรรถภาพ

ควรค่าแก่การสงสัย ความพร้อมในการฝึกกับความพร้อมของสมรรถภาพคืออย่างเดียวกันหรือไม่? ความพร้อมในการฝึกของคุณให้คะแนนตอนเช้าของการแข่งขันครั้งใหญ่หรือไม่ (หรือแย่กว่านั้นคือเป็นตัวกำหนด) ว่าคุณจะทำได้ดีแค่ไหน? คะแนนความพร้อมที่ต่ำกว่าประเภทสูงสุดหมายความว่าถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนกลยุทธ์การก้าวและลดความคาดหมายหรือไม่?

อาจมีบางครั้งที่คุณอาจสังเกตเห็นความเชื่อมโยงระหว่างความพร้อมในการฝึกและสมรรถภาพ แต่การพูดอย่างจริงจัง การวิเคราะห์ความพร้อมในการฝึกไม่ได้ออกแบบมาเพื่อคาดการณ์สมรรถภาพ นักกีฬาหลายคนรายงานว่านอนไม่ค่อยหลับในคืนก่อนงานใหญ่แต่ยังได้รับผลลัพธ์ที่น่าประทับใจและทำลายสถิติที่ดีที่สุดของตัวเองได้ ระดับความเครียดยังสามารถเพิ่มขึ้นเนื่องจากการคาดหวังและความตื่นเต้นในวันแข่งที่สำคัญ

ความพร้อมในการฝึกมุ่งเน้นไปยังความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของความเค้น ความเครียด การฟื้นฟู สุขอนามัยในการนอนหลับที่ดีและความสามารถของคุณในการรักษาสมดุลของสภาวะสมดุล คำแนะนำมุ่งเน้นไปที่การวางรากฐานสู่ความสำเร็จ ใช้ประโยชน์สูงสุดจากการออกกำลังกายของคุณ และปรับปรุงความสามารถด้านสมรรถภาพเมื่อเวลาผ่านไป

สมรรถภาพในวันแข่งนั้นเกี่ยวกับการปฏิบัติและการนำความสามารถเหล่านั้นมาใช้

Endurance Score

การทำความเข้าใจ Endurance Score ของ คุณ บน Garmin

ENDURANCE-SCORE

คะแนนความอดทนคือฟีเจอร์ในอุปกรณ์ Garmin เฉพาะรุ่นที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อจุดต่าง ๆ ระหว่างฟิตเนส การฝึก และความสามารถในการรักษาสมรรถภาพของคุณในระยะยาว คะแนนความอดทนของคุณคือตัวเลขไดนามิกที่เพิ่มและลดเพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในความอดทนของคุณ คะแนนที่สูงขึ้นสะท้อนถึงความสามารถในการแสดงสมรรถภาพที่ยาวนานขึ้น

สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดเพื่อนำเสนอมุมมองของมัลติสปอร์ตอย่างแท้จริง ทุกกิจกรรมที่คุณบันทึกที่มีอัตราการเต้นของหัวใจจะมีส่วนช่วยและเพิ่มความเข้าใจในความอดทนของคุณ วิธีการที่ยืดหยุ่นช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ในขณะที่ยังเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมที่ทำให้คุณก้าวต่อไปข้างหน้าเรื่อย ๆ

กิจกรรมใดที่มีส่วนช่วยมากที่สุดในการพัฒนาความสามารถในการอดทนของคุณในปัจจุบัน? คุณสามารถพบได้ตามไอคอนที่ด้านล่างหน้าจอ

ทำไม Endurance Score ถึงมีความสำคัญ

VO2 max เป็นตัววัดความฟิตเนสแบบแอโรบิก เป็นตัวเลขเดียวที่รวบรวมหัวใจ ปอด ระบบไหลเวียนโลหิต และกล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนสมรรถนะของคุณแบบแอโรบิก การผลิตพลังงานแอโรบิกมีประสิทธิภาพสูงและเป็นกุญแจสำคัญสำหรับสมรรถภาพที่ยั่งยืน ซึ่งหมายความว่า VO2 max และความอดทนของคุณนั้นมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน

อย่างไรก็ตาม เหมือนกับที่โค้ชหรือนักกีฬาที่มีประสบการณ์สามารถบอกคุณได้ คนที่มีค่า Vo2 max เหมือนกันมักจะมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมากเมื่อพูดถึงผลลัพธ์ด้านสมรรถภาพ คุณอาจประสบกับการหยุดพัฒนาฟิตเนสแอโรบิก แต่คุณยังคงเห็นและรู้สึกได้ถึงการพัฒนาความอดทนของคุณอยู่

คุณอาจประสบกับการหยุดพัฒนาฟิตเนสแอโรบิก แต่คุณยังคงเห็นและรู้สึกได้ถึงการพัฒนาความอดทนของคุณอยู่

ตัวอย่างเช่น การปรับตัวทางสรีรวิทยาที่เกิดจากการฝึกที่เพิ่มความต้านทานการเหนื่อยล้า ไม่ได้สะท้อนโดยการเปลี่ยนแปลงในความสามารถสมรรถนะด้านแอโรบิกของคุณ การปรับตัวเหล่านี้สามารถถูกจัดหมวดหมู่เป็น เมตาโบลิก ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ การปรับตัวเหล่านี้สามารถถูกจัดหมวดหมู่เป็น เมตาโบลิก ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ

การผสมผสานมุมมองด้านฟิตเนสและการฝึกเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจความอดทน การติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและการปลดปล่อยแรงกระตุ้นที่มาจากการสังเกตการออกกำลังอย่างหนักหน่วงจะแปลงเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้

การคำนวณ Endurance Score ของคุณ

ฟิตเนสแบบแอโรบิกของคุณที่ถูกวัดเป็นค่า VO2 max ให้จุดเริ่มต้นในการคำนวณคะแนนความอดทนของคุณ ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นและที่ศึกษามาอย่างดีระหว่างฟิตเนสแอโรบิกและความอดทนทำให้มุมมองนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดต่อคะแนนความอดทนของคุณ

อุปกรณ์ Garmin ส่วนใหญ่จะประมาณค่า VO2 max โดยอัตโนมัติในระหว่างกิจกรรมการวิ่งและการปั่นกลางแจ้งที่บันทึกด้วยมิเตอร์วัดกำลัง หากคุณไม่มีค่าประมาณ VO2 max ล่าสุดจากทั้งสองกิจกรรม เครื่องวิเคราะห์จะประมาณฟิตเนสแอโรบิกของคุณตามการผสมผสานของอายุ เพศ BMI และระดับกิจกรรมล่าสุดของคุณ สิ่งนี้ช่วยรับประกันการสนับสนุนสำหรับบุคคลที่หลากหลายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข้อมูลเชิงลึกที่ยิ่งไปกว่า VO2 max มาจากการวิเคราะห์และตีความประวัติกิจกรรมของคุณจากมุมมองของการพัฒนาและการสนับสนุนด้านความอดทน เป้าหมายของการวิเคราะห์นี้คือเพื่อพิจารณาว่าความท้าทายในการฝึกเป็นอย่างไรและปริมาณเท่าใดที่กิจกรรมของคุณช่วยในการพัฒนาความต้านทานการเหนื่อยล้าและความสามารถในการออกแรงที่ยั่งยืน

ความอดทนไม่ได้สร้างข้ามคืน มันต้องใช้เวลาและการออกแรงที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาและเสริมรากฐานของความอดทนของคุณ อย่างไรก็ตามประโยชน์สูงสุดของการฝึกความอดทนสามารถสูญเสียไปได้จากการไม่ทำกิจกรรมในช่วงเวลาสั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ ทั้งมุมมองการฝึกระยะสั้นและระยะยาวจึงถูกนำมาเป็นปัจจัยในการคำนวณคะแนนความอดทนเพื่อสะท้อนถึงสถานการณ์ปัจจุบันของคุณได้อย่างน่าเชื่อถือ ด้วยเหตุนี้ ทั้งมุมมองการฝึกระยะสั้นและระยะยาวจึงถูกนำมาเป็นปัจจัยในการคำนวณคะแนนความอดทนเพื่อสะท้อนถึงสถานการณ์ปัจจุบันของคุณได้อย่างน่าเชื่อถือ

ตามธรรมชาติแล้ว กิจกรรมที่ยาวนานที่สุดจะนำมาพิจารณาเป็นพิเศษเมื่อคำนวณคะแนนความอดทนของคุณ

Endurance Score และการตั้งค่าความคาดหวังสมรรถภาพอัจฉริยะ

มันคุ้มค่าที่จะถามว่า คะแนนความอดทนของเราสามารถคาดการณ์สมรรถภาพในงานที่กำลังจะมาถึงได้หรือไม่? คำตอบอาจดูเหมือนจะชัดเจน แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของงานและวิธีการเตรียมความพร้อมของคุณ ความอดทนในกิจกรรมหนึ่งไม่สามารถใช้กับอีกกิจกรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบ การปรับตัวเฉพาะกิจกรรมนั้นมีความสำคัญเมื่อพูดถึงสมรรถภาพ

หากคุณวิ่งเป็นส่วนใหญ่และว่ายน้ำน้อยมาก คะแนนความอดทนของคุณจะเป็นตัวบ่งชี้ที่แข็งแกร่งสำหรับการวิ่งแต่อาจไม่ได้บอกอะไรคุณมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่คุณคาดหวังว่าจะได้ในสระว่ายน้ำ คล้ายกัน หากคุณเป็นนักว่ายน้ำตัวยงที่ไม่ค่อยเล่นสกี คะแนนความอดทนของคุณจะสะท้อนสมรรถภาพการว่ายน้ำมากกว่าความพร้อมของคุณที่จะไปเผชิญกับงานครอสคันทรี 50K

การพิจารณาตามสามัญสำนึกเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความอดทน สมรรถภาพ และความคาดหวังที่ถูกต้อง

โดยสรุป คะแนนความอดทนคือโอกาสใหม่สำหรับข้อมูลเชิงลึกและสามารถช่วยให้คุณติดตามความก้าวหน้าเมื่อคุณออกกำลังเพื่อให้เป็นนักกีฬาที่มีความอดทนมากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงความสามารถปัจจุบันและความชอบในกีฬาของคุณ ธรรมชาติของการวิเคราะห์ที่ผสมผสานกับการทำงานของร่างกายหมายความว่าคะแนนความอดทนจะสะท้อนความสามารถในการอดทนได้ดีที่สุดสำหรับกิจกรรมที่คุณชอบและทำบ่อยที่สุด

การวิ่งที่ประหยัดพลังงาน

running-economy

การวิ่งที่ประหยัดพลังงาน คือ ค่าชี้วัดสำคัญสำหรับนักวิ่งทุกคนที่ต้องการเพิ่มสมรรถภาพสูงสุด ซึ่งเป็นการวัดแบบเฉพาะบุคคลเกี่ยวกับต้นทุนพลังงานของการวิ่งแบบแอโรบิก และสะท้อนถึงความสามารถของร่างกายในการเปลี่ยนพลังงานให้กลายเป็นสมรรถนะบนท้องถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประสิทธิภาพการวิ่งแสดงในหน่วย มิลลิลิตรของออกซิเจนที่ใช้ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อระยะทางหนึ่งกิโลเมตร (มล./กก./กม.) เมื่อแปลความหมายของค่านี้ โปรดจำไว้ว่ายิ่งตัวเลขต่ำยิ่งดี เพราะแปลว่าใช้พลังงานน้อยกว่า

การรู้ถึงค่าการวิ่งที่ประหยัดพลังงานและเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงตามเวลาสามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากได้ สำหรับนักวิ่งสองคนที่มีความสามารถแอโรบิกใกล้เคียงกัน คนที่มีการวิ่งที่ประหยัดพลังงานที่ดีกว่ามักจะได้เปรียบ เพราะจะใช้พลังงานน้อยกว่าในการรักษาความเร็วเท่ากัน

การวัดค่าการวิ่งที่ประหยัดพลังงาน

เพื่อรับค่าประมาณของการวิ่งที่ประหยัดพลังงานของคุณ ให้บันทึกการวิ่งในโหมด Run หรือ Track Run โดยใช้อุปกรณ์ Garmin ที่รองรับ และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมของ Garmin ที่สามารถวัดการสูญเสียความเร็วในการก้าวได้ (เช่น เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจรุ่น HRM 600)

ข้อมูลหลักที่ใช้ในการคำนวณค่าตัวชี้วัดนี้ ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจ ความเร็ว ไดนามิกของการวิ่ง เช่น ความยาวก้าว เวลาสัมผัสพื้น การแกว่งในแนวดิ่ง และการสูญเสียความเร็วในการก้าว การสูญเสียความเร็วในการก้าวเป็นข้อมูลสำคัญ เนื่องจากสามารถวัดได้ว่าคุณช้าลงแค่ไหนเมื่อเท้ากระทบพื้น ข้อมูลทั้งหมดจะถูกตีความในบริบทของประวัติการวิ่งโดยรวมของคุณ เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ตั้งค่าความสูงและน้ำหนักตัวของคุณให้ถูกต้อง และทำการซิงค์อุปกรณ์กับแอป Garmin Connect เป็นประจำ

ค่าการวิ่งที่ประหยัดพลังงานไม่ได้มาจากการวิ่งเพียงครั้งเดียว ดังนั้นควรบันทึกการวิ่งอย่างน้อย 4 ถึง 5 ครั้ง ก่อนจะได้รับค่าประมาณครั้งแรก การรวมข้อมูลจากการวิ่งหลายครั้งช่วยให้การวิเคราะห์สะท้อนถึงสมรรถนะที่แท้จริงของคุณได้อย่างมีความหมาย

โปรดทราบว่าการวิ่งที่ประหยัดพลังงาน เป็นค่าที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพแอโรบิกโดยเฉพาะ ดังนั้นไม่ใช่ทุกการวิ่งที่บันทึกไว้จะมีน้ำหนักเท่ากันในการคำนวณค่านี้ การวิ่งแบบง่ายที่มีระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาทีบนลู่วิ่งหรือพื้นราบค่อนข้างสม่ำเสมอให้โอกาสสูงสุดในการวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพการวิ่งในมุมมองนี้ได้อย่างแม่นยำ

การวิ่งในร่มและการวิ่งที่บันทึกในโหมดการวิ่งเทรลจะไม่ถูกนำมาใช้ เพื่อคำนวณหรืออัปเดตค่าการวิ่งที่ประหยัดพลังงานของคุณ เนื่องจากภูมิประเทศที่ขรุขระและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงบ่อยของการวิ่งเทรลจะบดบังค่าการวิ่งที่ประหยัดพลังงานที่แท้จริงของคุณ เช่นเดียวกัน การวิ่งที่มีการบันทึก โดยแบกน้ำหนักจะถูกตัดออกจากอัลกอริธึมของการวิ่งที่ประหยัดพลังงาน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับข้อมูลย้อนกลับที่มีคุณภาพ

การปรับปรุงการวิ่งที่ประหยัดพลังงาน

การวิ่งที่ประหยัดพลังงานของแต่ละบุคคล ได้รับอิทธิพลจากทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยที่สามารถฝึกฝนได้

ปัจจัยทางพันธุกรรม หมายความว่า นักวิ่งบางคนโดยธรรมชาติแล้วจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ส่วน ปัจจัยที่ฝึกได้ ได้แก่ ลักษณะการวิ่ง ความยืดหยุ่นของร่างกาย และประสิทธิภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบเผาผลาญพลังงาน และระบบประสาทกล้ามเนื้อ

ข้อเท็จจริงที่ว่าประสิทธิภาพการวิ่ง สามารถฝึกฝนให้ดีขึ้นได้ หมายความว่า นักวิ่งทุกคนสามารถพัฒนาได้ ในทุกระดับของนักวิ่ง การทำงานเพื่อปรับปรุงการวิ่งที่ประหยัดพลังงานเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มสมรรถนะ ลดความเหนื่อยล้า และในที่สุดก็คือการปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของตนเอง

สำหรับนักวิ่งมือใหม่ หรือผู้ที่กลับมาวิ่งหลังจากหยุดพักนานมักจะเห็นพัฒนาการในด้านการวิ่งที่ประหยัดพลังงานได้อย่างรวดเร็ว เมื่อประสบการณ์ของนักวิ่งเพิ่มขึ้น โดยธรรมชาติแล้ว นักวิ่งมักจะปรับท่าวิ่งให้เข้ากับร่างกายตนเองได้ดีขึ้น จนมีรูปแบบการวิ่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิ่งที่มีประสบการณ์สูงอาจสังเกตเห็นว่าการพัฒนาช้าลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงการวิ่งที่ประหยัดพลังงานในระดับสูงนั้นมักจะเล็กน้อย และต้องอาศัยความพยายามต่อเนื่องในระยะยาว การปรับปรุงที่ยั่งยืนเกิดขึ้นได้จาก การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอในระยะยาวเท่านั้น

ในการพัฒนาประสิทธิภาพการวิ่งของคุณ ค่อย ๆ เพิ่มระยะทางการวิ่งรายสัปดาห์อย่างเป็นขั้นตอน ตามหลักทั่วไป ยิ่งคุณวิ่งมากขึ้น การประหยัดพลังงานในการวิ่งของคุณก็จะยิ่งดีขึ้น หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพเป็นพิเศษ ให้พิจารณาเสริมการฝึกด้วยการฝึกความแข็งแรง และการฝึกสปริ๊นท์เพิ่มในกิจวัตร การฝึกทั้งสองแบบนี้ช่วยกระตุ้นการพัฒนาการเชื่อมต่อของระบบประสาทกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ในการประสานงาน และการตอบสนองของร่างกาย ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มการประหยัดพลังงานในการวิ่งของคุณในระยะยาว

ความทนทานในการวิ่ง

running-tolerance

ความทนทานในการวิ่งเป็นฟีเจอร์เฉพาะของ Garmin ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณรับรู้รูปแบบการฝึกซ้อมที่อาจก่อให้เกิดอันตราย และช่วยหลีกเลี่ยงการฝึกซ้อมที่เกินกำลัง คุณจะได้รับข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการผลกระทบของการวิ่งต่อร่างกายอย่างชาญฉลาด ในขณะที่สร้างและรักษาระยะการวิ่งในแต่ละสัปดาห์

ผลกระทบจากความหนักและวิธีการคำนวณ

สำหรับนักวิ่งทั่วโลก “ระยะทางรวมต่อสัปดาห์” มักถูกใช้เป็นตัวชี้วัดหลักของปริมาณการฝึก แต่ความท้าทายคือแต่ละกิโลเมตร ไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายในระดับเดียวกันเสมอไป ความหนักทางชีวกลศาสตร์ หรือผลกระทบจากการวิ่งที่มีต่อกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเส้นเอ็น จะสะสมขึ้นในแต่ละก้าวที่คุณวิ่ง และขนาดของผลกระทบนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามหลายปัจจัยที่ซับซ้อน

อุปกรณ์ Garmin ที่รองรับสามารถจัดการความท้าทายนี้ได้โดยใช้การวิเคราะห์ขั้นสูง เพื่อวัดปริมาณการวิ่งในรูปของผลกระทบโดยรวมต่อร่างกาย ข้อมูลสำคัญ เช่น น้ำหนัก ความเร็ว ความเข้มข้นของการวิ่ง จะถูกรวมเข้ากับข้อมูลไดนามิกของการวิ่ง เช่น อัตราการก้าวต่อนาที เวลาสัมผัสพื้น และปัจจัยอื่น ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการวิ่งและผลกระทบต่อร่างกาย การวิ่งขึ้นและวิ่งลงเนินจะได้รับการประเมินแยกต่างหากตามความชันของทางขึ้นหรือลง

เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกนี้ Garmin จะวิเคราะห์ประสิทธิภาพของคุณอย่างต่อเนื่องตลอดการวิ่ง ปัจจัยต่าง ๆ จะถูกประมวลผลแบบเรียลไทม์ด้วยโครงข่ายประสาทเทียม ซึ่งได้รับการฝึกมาโดยเฉพาะเพื่อประเมินแรงปฏิกิริยาจากพื้น ซึ่งเป็นแรงที่พื้นกระทำต่อร่างกายของคุณเมื่อเท้ากระทบพื้น ผลกระทบจากความหนักที่เกิดขึ้นนั้นจะถูกแชร์ให้แสดงในรูปของระยะทางเทียบเท่า

แนวทางนี้ช่วยให้คุณเห็นภาพได้ชัดเจนว่า การวิ่งที่หนักและเร็วส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าการวิ่งช้าแค่ไหน และช่วยให้สามารถวางแผนระยะทางเป้าหมายประจำสัปดาห์ได้อย่างเหมาะสม

การวิ่งที่หนักและรวดเร็วจะสร้างแรงกระแทกจากพื้นมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายสึกหรอมากกว่าการจ๊อกกิ้งเบา ๆ ช่วงที่มีการเดินในระหว่างการวิ่งจะสร้างผลกระทบเพียงครึ่งเดียวของการวิ่งแบบทนทานทั่วไป ขณะที่การวิ่งลงเนินด้วยความเร็วอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายสูงถึงสามเท่าเมื่อเทียบกับการวิ่งเบาๆบนพื้นราบ

คุณสามารถดูกราฟผลกระทบจากความหนัก ได้หลังจากการวิ่งแต่ละครั้งได้ทั้งบนอุปกรณ์ Garmin และในแอป Garmin Connect เพื่อดูว่าแต่ละช่วงของการวิ่งส่งผลต่อร่างกายของคุณอย่างไรบ้าง

ความหนักแบบฉับพลันและความทนทาน

นักวิ่งทุกคนรู้ดีว่าผลกระทบจากการวิ่งเมื่อวานจะไม่หายไปทันทีในข้ามคืน กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และกระดูก ล้วนต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูจากผลกระทบจากการวิ่ง ด้วยเหตุนี้ การดูแค่ผลกระทบจากการวิ่งครั้งเดียวจึงไม่เพียงพอ คุณจำเป็นต้องมองในภาพรวมที่ใหญ่กว่า

การบริหารจัดการความหนักอย่างมีข้อมูลต้องอาศัยความเข้าใจในสถานะปัจจุบันของคุณเทียบกับขีดความสามารถที่ร่างกายสามารถรับได้ สิ่งนี้ช่วยให้คุณสามารถกำหนดความท้าทายได้ในระดับที่เหมาะสม โดยไม่ฝืนร่างกายเกินไป และยังช่วยให้คุณตอบคำถามสำคัญได้ เช่น “วันนี้เรายังสามารถวิ่งเพิ่มได้อีกแค่ไหน?” หรือ “ตลอดสัปดาห์นี้ควรวิ่งรวมเท่าไหร่ถึงจะไม่เกินพิกัด?”

  • ผลกระทบแบบฉับพลันคือค่ารวมแบบถ่วงน้ำหนักซึ่งสะท้อนผลกระทบสะสมและผลกระทบคงเหลือจากการวิ่งล่าสุดของคุณอย่างแม่นยำ เมื่อคุณวิ่งแต่ละครั้ง ค่าผลกระทบจากความหนักทั้งหมดของการวิ่งนั้นจะถูกเพิ่มเข้าไปในโหลดการกระแทกแบบเฉียบพลัน จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงตามกาลเวลา
  • ความทนทานคือค่าที่แสดงขีดจำกัดสูงสุดของความหนักแบบฉับพลันที่ร่างกายของคุณสามารถรับได้ โดยอ้างอิงจากประวัติการวิ่งในอดีต ฟีเจอร์นี้ได้รับการปรับให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล และจะถูกปรับใหม่ในช่วงเริ่มต้นของแต่ละสัปดาห์ฝึกซ้อม โดยอ้างอิงจากพื้นฐานตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ของประวัติการวิ่งล่าสุดและการวิ่งในระยะยาวของคุณ

หากค่าผลกระทบจากความหนักแบบฉับพลันของคุณเกินค่าความทนทาน แสดงว่าคุณได้เข้าสู่สถานะเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณต้องหยุดวิ่งทันที แต่เป็นการกระตุ้นให้คุณประเมินสถานการณ์ของตนเองและดำเนินการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม หากคุณฝืนขีดจำกัดนี้อยู่บ่อยครั้ง อาจตีความได้ว่าเป็นรูปแบบการฝึกที่เสี่ยง ซึ่งเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการบาดเจ็บหรือภาวะหมดแรง

ไม่ว่าจะเกิดจากการวิ่งครั้งเดียวหรือหลายครั้งติด ๆ กัน วิธีที่ค่าผลกระทบจากความหนักแบบฉับพลันของคุณสะสมอาจยืดระยะเวลาแนะนำในการฟื้นฟูของคุณ ตัวอย่างเช่น การออกไปวิ่งระยะไกลกว่าปกติ หรือการวิ่งลงเนินมากกว่าที่เคย

หน้าจอสัปดาห์การฝึกจะแสดงประวัติการฝึก ที่ช่วยให้คุณติดตามรูปแบบการฝึกได้ และยังเป็นที่ที่คุณสามารถดูได้ว่าค่าความทนทานของคุณเปลี่ยนแปลงอย่างไรจากสัปดาห์หนึ่งไปอีกสัปดาห์หนึ่ง การฝึกอย่างต่อเนื่องและท้าทายอย่างเหมาะสม จะทำให้ค่าความทนทานของคุณค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ในขณะที่การลดปริมาณการวิ่งในระยะยาวจะส่งผลให้ค่าความทนทานต่อการวิ่งลดลงในที่สุด โปรดทราบว่า ความหนักสะสมรายสัปดาห์ที่แสดงในกราฟสัปดาห์การฝึกปัจจุบันของคุณ อาจมีความแตกต่างเล็กน้อยจากค่าความหนักแบบฉับพลันในปัจจุบัน นั่นเป็นเพราะว่า ค่าผลกระทบจากความหนักแบบฉับพลันใช้การคำนวณแบบถ่วงน้ำหนัก เพื่อสะท้อนระดับความเครียดที่ร่างกายคุณกำลังเผชิญอยู่ในวันนี้

การหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ

ความทนทานการวิ่งมอบข้อมูลเชิงลึกในการฝึกของคุณ สามารถชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการฝึกที่อาจเป็นอันตราย และเสนอแนวทางที่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์ในการเพิ่มปริมาณการวิ่งอย่างปลอดภัยในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์นี้ ไม่สามารถรับประกันได้ว่าคุณจะไม่บาดเจ็บ และ ไม่สามารถทดแทนการรับรู้ถึงสภาพร่างกายของตนเองได้ วิธีการวิ่งอย่างปลอดภัยจะเกี่ยวข้องกับทั้งการฟังเสียงจากร่างกายของคุณเองและการใช้ข้อมูล

Running Dynamics

ระยะเวลาที่เท้าเหยียบพื้นขณะวิ่ง

จำนวนเวลาในแต่ละก้าวที่คุณใช้บนพื้นขณะวิ่ง ระยะเวลาที่เท้าเหยียบพื้นขณะวิ่งโดยทั่วไปจะสั้นมากๆ ดังนั้นจึงวัดเป็นมิลลิวินาที ยิ่งโดยเฉพาะนักกีฬาชั้นนำ ระยะเวลาที่เท้าเหยียบพื้นขณะวิ่งจะยิ่งสั้นเป็นพิเศษ โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณน้อยกว่า 200 มิลลิวินาที นักวิ่งที่มีประสบการณ์โดยมากจะมีระยะเวลาที่เท้าเหยียบพื้นขณะวิ่งภายใน 300 มิลลิวินาที เพราะพวกเขารู้ว่าจะต้อง “ยก” เท้าขึ้นให้เร็วและไม่ก้าวยาวเกินไปเมื่อกำลังจะลงสู่พื้น การก้าวยาวเกินไปคือการวิ่งที่เท้าลงสู่พื้นยาวเกินกว่าช่วงหน้าของร่างกาย นำไปสู่แรงหักเมื่อถึงพื้นและระยะเวลาที่เท้าเหยียบพื้นขณะวิ่งมากกว่า

ความสมดุลในการลงเท้าทั้งสองข้าง

A watch screen showing ground contact time balance.ด้วยการตรวจวัดความสมดุลระหว่างระยะเวลาที่เท้าเหยียบพื้นขณะวิ่ง (GCT) ของเท้าซ้ายและเท้าขวาของคุณ ค่า GCT สามารถวัดสมมาตรของคุณในขณะที่วิ่ง นาฬิกา Garmin ของคุณจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์มากกว่า 50% พร้อมลูกศรซ้ายหรือขวาเสมอ เพื่อแสดงว่าเท้าข้างใดแตะพื้นนานกว่ากัน สำหรับคนส่วนใหญ่ การวิ่งที่สมมาตรดีกว่าเดิมคือเรื่องที่น่าพอใจ มาตรวัดสีสันสวยงามบนนาฬิกา Garmin และ Garmin Connect™ แสดงให้เห็นว่าคุณรักษาสมดุลได้ดีเพียงใดเมื่อเทียบกับนักวิ่งคนอื่นๆ นักวิ่งหลายคนแจ้งว่าค่าสมดุล GCT มีแน้วโน้มที่จะเบี่ยงเบนไปจาก 50/50 เมื่อวิ่งขึ้นหรือลงเนิน เมื่อวิ่งเร็วมาก หรือเมื่อเหนื่อยมาก บางคนพบว่าการบาดเจ็บมีส่วนมาจากการวิ่งที่รักษาสมดุลได้ไม่ดี

Cadence

จำง่ายๆ ว่า GCT คือจำนวนก้าวที่คุณใช้ต่อนาที โดยนับทั้งสองเท้า ซึ่งเป็นเมตริกที่แพร่หลายสำหรับใช้วัดการวิ่งและสามารถบอกคุณเกี่ยวกับฟอร์มการวิ่งของคุณได้มากมาย ตัวอย่างเช่น ด้วยจำนวนก้าวที่จังหวะเร็วขึ้นและช่วงก้าวสั้นลงส่งแรงกระทำสู่ร่างกายส่วนต่างๆ น้อยลง เช่น ข้อเท้า หัวเข่า และสะโพก ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าแรงกระทำที่ลดลงสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บได้ จึงชัดเจนว่าจังหวะการวิ่งสามารถเพิ่มได้ และสำหรับนักวิ่งที่มักจะบาดเจ็บบ่อย การฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มจังหวะการวิ่งน่าจะช่วยได้ เป้าหมายที่มักจะใช้กันสำหรับจังหวะการวิ่งคือ180 ก้าวต่อนาที อย่างไรก็ดีนักวิ่งที่ตัวสูงมีแนมโน้มที่จะมีจังหวะการวิ่งช้ากว่า น่าสนใจว่าจังหวะการวิ่งที่ยาวมักจะสัมพันธ์กับการโยกตัวขณะวิ่งที่น้อยและใช้เวลาแตะพื้นสั้นกว่า

Stride Length

ส่วนสำคัญอีกส่วนของการวัดฟอร์มการวิ่งของคุณคือ ความยาวของช่วงก้าว กล่าวคือระยะห่างระหว่างเท้าซ้ายกับเท้าขวา ข้อมูลนี้จะแสดงขึ้นเมื่อจบการวิ่ง หรือแสดงเป็นเขตข้อมูลในกิจกรรมเพื่อให้คุณดูได้ขณะวิ่ง หลังจากนั้น คุณสามารถดูข้อมูลนี้ด้วยรายละเอียดมากขึ้นใน Garmin Connect™ เพื่อดูว่าความยาวของช่วงก้าวของคุณให้ผลที่แตกต่างกันอย่างไรในแต่ละก้าว จังหวะ การยกตัว หรือในเมตริกอื่นๆ ความยาวของช่วงก้าวของคุณขึ้นอยู่กับจำนวนปัจจัย เช่น กายสัณฐาน ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

ค่าการโยกตัวขณะวิ่ง

ส่งผลต่อจำนวน “เบาวซ์” ในแต่ละก้าวขณะที่คุณวิ่ง การวัดลำตัวสามารถบอกคุณเป็นเซนติเมตรได้เลยว่าระยะห่างขึ้นลงเท่าใดที่คุณใช้ในแต่ละก้าว ผู้ฝึกสอนการวิ่งหลายๆ คนเชื่อว่าการโยกตัวขณะวิ่งที่น้อยจะประหยัดพลังงานได้มากกว่า เพราะเสียพลังงานไปกับการโยกขึ้นลงน้อย Garmin ได้ทำการวิจัยกับนักวิ่งจำนวนมากในทุกระดับ โดยทั่วไปพบว่านักวิ่งที่มีประสบการณ์จะมีการโยกตัวขณะวิ่งน้อย อย่างไรก็ดี การก้าวขาเร็วๆ มักมีการโยกตัวขณะวิ่งที่สูง อัตราส่วนแนวดิ่ง (ดูด้านล่าง) คำนวณจากปัจจัยนี้ ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการโยกตัวขณะวิ่งน้อยคือความตึงเครียดของร่างกายที่น้อยลงเมื่อร่างกายรับแรงกระแทกน้อยลง

Vertical Ratio

A watch screen showing vertical ratio.ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการวิ่งของคุณอ้างอิงจากว่าคุณขับเคลื่อนตัวเองไปข้างหน้าในแต่ละช่วงก้าวได้ดีเพียงใด อัตราส่วนแนวดิ่งคือจำนวนของ “เบาวซ์” ในช่วงก้าวของคุณ หารด้วยความยาวของช่วงก้าว และแสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์ ความยาวของช่วงก้าวคือการเคลื่อนที่แนวระนาบจึงเป็นประโยชน์ต่อการวิ่ง ในขณะที่การแกว่งแนวนิ่งเป็นหนึ่งในภาระของการวิ่ง ค่าอัตราส่วนแนวดิ่งต่ำจึงบ่งบอกถึงภาระที่น้อยลงแต่ได้ประโยชน์มากขึ้น ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพการวิ่งที่ดีขึ้น

Running Power (กำลังการวิ่ง)

หลายปีที่ผ่านมา นักขับขี่จักรยานระดับสูงหลายรายมองว่าข้อมูลกำลังเป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือที่สุดในการวัดโหลดการออกกำลังกายที่แท้จริงของการขับขี่ของพวกเขา ตอนนี้คุณเองก็สามารถฝึกโดยใช้กำลังกับการวิ่งของคุณได้โดยการดาวน์โหลดแอป Running Power จากร้านค้า Connect IQ™ บนนาฬิกาที่รองรับของคุณ แอป Running Power มอบปัจจัยมากมายเพื่อผลการคำนวณโหลดการออกกำลังกายที่แม่นยำขึ้นและตอบสนองไวขึ้น

แอป Running Power ที่พัฒนาขึ้นโดย Garmin Labs นั้นใช้ประโยชน์จากเมตริกต่าง ๆ เช่น Pace ค่าโยกตัว เกรด และแม้แต่สภาพลมในท้องถิ่น มาคำนวณปริมาณกำลังที่คุณลงแรงบนพื้นระหว่างวิ่ง เมื่อคุณรู้ว่าคุณได้ใช้กำลังไปมากแค่ไหนแบบนาทีต่อนาที และไมล์ต่อไมล์ คุณจะสามารถคุมจังหวะตนเองได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยออมแรงไม่ให้คุณเหนื่อยเร็วเกินไป

ลองนึกภาพพลังงานร่างกายของคุณเป็นแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนของคุณดู คุณสามารถเพิ่มความสว่างหน้าจอไปจนสุดได้ แต่ผลคือกำลังแบตเตอรี่จะหมดเร็วกว่าปกติ หรือคุณสามารถสงวนกำลังแบตเตอรี่ได้โดยการลดความสว่างหน้าจอลง ทำให้ใช้พลังงานแบตเตอรี่ได้นานกว่าเดิม เช่นเดียวกัน การรู้จักร่างกายของคุณและการใช้กำลังของร่างกายระหว่างการวิ่งในสภาพที่แตกต่างกัน จะทำให้คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลนี้เพื่อสงวนพลังงานของคุณได้ สำหรับการวิ่งมาราธอนและการวิ่งระยะไกลอื่น ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณปรับจูนการฝึกและสมรรถนะของคุณในวันแข่งได้

ต้นแบบกำลังการวิ่งจาก Garmin นี้จะระบุกำลังขับเคลื่อนที่ใช้บนถนนโดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลัก ๆ ของผลลัพธ์ที่ได้ระหว่างวิ่ง องค์ประกอบที่ว่านี และลักษณะที่องค์ประกอบเหล่านี้เปลี่ยนแปลงและข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณจะอยู่ในรายการตามตารางด้านล่าง

องค์ประกอบของกำลังการวิ่ง นี่คืออะไร แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ
กำลังจลน์ กำลังที่ต้องใช้ในการเปลี่ยน Pace ของคุณ ความเร็วจากนาฬิกา
กำลังศักย์ กำลังที่ต้องใช้ในการวิ่งขึ้นหรือลงเนิน ข้อมูลระดับความสูงจากบารอมิเตอร์บนนาฬิกา
กำลังการโยกตัวแนวดิ่ง กำลังที่ต้องใช้สำหรับการโยกตัวแนวดิ่งของแต่ละก้าว Running dynamics จาก HRM-Run™, HRM-Tri™ หรือ Running Dynamics Pod
กำลังการโยกตัวแนวนอน กำลังที่ต้องใช้สำหรับการโยกตัวแนวราบของแต่ละก้าว (คุณเบรกเล็กน้อยเมื่อเท้าแตะพื้น จากนั้นเร่งความเร็วอีกครั้งเมื่อถีบตัวออก) ความเร็วจากนาฬิกา Running dynamics จาก HRM-Run, HRM-Tri หรือ Running Dynamics Pod
กำลังลม/อากาศ กำลังในการเอาชนะแรงลมต้าน ซึ่งต้องมากขึ้นหากวิ่งไปในทิศต้านลม และน้อยลงหากวิ่งไปทิศเดียวกับลม
  • ความเร็วจากนาฬิกา
  • ทิศทางที่มุ่งไปจากนาฬิกา
  • สภาพลมที่รายงานจากบริการสภาพอากาศต่าง ๆ
  • ข้อมูลระบบบารอเมตริกในการตรวจจับสภาพท้องถิ่น
หมายเหตุ: สมการที่จะคำนวณองค์ประกอบของกำลังการวิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ค่าที่คงที่บางอย่าง เช่น น้ำหนักของคุณ การเร่งความเร็วเนื่องจากแรงโน้มถ่วงและความหนาแน่นของอากาศ เป็นต้น

ต่อไปนี้คือตัวอย่างของผลขององค์ประกอบของกำลังการวิ่งจากตัวทดสอบที่มี Cadence ในระยะ162-182, การโยกตัวแนวดิ่ง 6.2 – 8.9 เซนติเมตร และ GCT ในระยะ 262 – 296 มิลลิวินาที

A graph showing a heart rate variability stress test.

แล้วจะหมายความว่าอย่างไร ในขณะที่คุณวิ่ง คุณจะเห็นว่ากำลังการวิ่งตอบสนองอย่างรวดเร็วเมื่อคุณเร่งหรือลดความเร็ว และคุณยังจะพบว่ากำลังการวิ่งเมื่อคุณวิ่งขึ้นเนินจะสูงกว่าตอนที่คุณวิ่งด้วยจังหวะเดียวกันบนพื้นราบอีกด้วย ทำนองเดียวกัน กำลังการวิ่งจะลดลงเมื่อคุณวิ่งลงเนิน แม้จะไม่มากก็ตาม เช่นนี้ คุณจะสามารถใช้กำลังการวิ่งเป็นตัวเสริมกับ Pace เพื่อช่วยให้คุณบริหารจัดการการออกแรงในสภาพพื้นที่ที่ต่างกันได้

ด้วยการเปิดใช้งานคุณสมบัติกำลังลม แอป Running Power สามารถช่วยให้คุณวัดการออกแรงระหว่างวิ่งในวันที่ลมแรงของคุณได้อีกด้วย ลมสามารถส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ต่อการใช้กำลังที่จำเป็นในการคงไว้ซึ่ง Pace ปกติของคุณได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสำหรับคุณหากคุณเคยวิ่งเข้าหาลมปะทะแรง ๆ มาก่อน แอป Running Power จะใช้ทิศทางที่มุ่งหน้าไปของคุณจาก GPS และรายงานสภาพลมสำหรับพื้นที่ของคุณ เสริมด้วยข้อมูลจากบารอมิเตอร์บนนาฬิกาของคุณ เพื่อระบุว่าคุณจะได้เจอกับลมแรงแค่ไหน ลองวิ่งไปกลับในถนนเส้นที่มีลมแรงและคุณจะเห็นว่ากำลังของคุณสูงขึ้นแค่ไหนเมื่อคุณวิ่งเข้าหาลม หากโดยปกติแล้วคุณวิ่งในที่ปิด หรือคุณเพียงไม่ต้องการให้แอปนำลมมาคำนวณด้วย เพียงแค่ปิดการใช้งานคุณสมบัตินี้ในการตั้งค่าของแอปในแอป Garmin Connect™

นักวิ่งหลายรายถามว่ากำลังการวิ่งสัมพันธ์กับอัตราการเต้นของหัวใจอย่างไร ปัจจัยทั้ง 2 อย่างนี้สัมพันธ์กันอย่างแน่นอน เนื่องจากกล้ามเนื้อของคุณต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้นเมื่อคุณใช้กำลังมากขึ้น เมื่อดูแผนภูมิของคุณหลังการวิ่ง คุณจะเห็นได้ว่าเมื่อใช้กำลังมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจจะตามมาในอีกสักพัก การหลีกเลี่ยงความช้าในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ (เช่น Pace การขึ้นเนิน หรือลม) เป็นหนึ่งในข้อได้เปรียบต่าง ๆ ที่ได้จากการใช้กำลังแทนที่จะใช้อัตราการเต้นของหัวใจในการวัดการออกแรงของคุณระหว่างวิ่ง นอกจากนี้ กำลังการวิ่งยังไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยด้านสรีรวิทยาต่าง ๆ เช่น ระดับน้ำในร่างกายหรือระดับการพักผ่อนที่เพียงพอของคุณ ไม่เหมือนกับอัตราการเต้นของหัวใจ

A graph showing a heart rate variability stress test.

พวกเขาสูงกว่ากำลังการขับขี่ของพวกเขามาก อันที่จรง กำลังการวิ่งนั้นควรจะสูงกว่ากำลังการขับขี่จักรยาน เนื่องจากประสิทธิภาพการเผาผลาญในการวิ่งจะสูงกว่ามาก (ประมาณ 40-45%) เมื่อเทียบกับการขับขี่จักรยาน (ประมาณ 20-25%) หมายความว่านักกีฬาสามารถแปลงปริมาณออกซิเจนที่เท่ากันนี้ให้เป็นกำลังในระหว่างการวิ่งได้มากกว่าระหว่างการขับขี่จักรยาน หรือเมื่อมองในแง่ของอัตราการเต้นของหัวใจ เราสามารถผลิตกำลังได้มากกว่าในอัตราการเต้นของหัวใจที่เท่ากัน โดยพื้นฐานแล้วเนื่องจากเมื่อเราวิ่ง เราจะได้ประโยชน์จากการหดตัวกลับแบบไม่ใช้พลังงานของปัจจัยยืดหยุ่นต่าง ๆ เช่น เอ็นกล้ามเนื้อ อธิบายอย่างง่ายคือ พลังงานจะถูกจัดเก็บเมื่อเราลงพื้นและส่งกลับเมื่อเราถีบตัวออก ซึ่งไม่เหมือนกับตอนขับขี่จักรยาน สำหรับข้อมูลเพื่มเติม โปรดดูที่ คำถามที่มักพบบ่อย ของเรา

ในการฝึกด้วยกำลังการวิ่ง คุณสามารถเลือกดาวน์โหลดแอปต่าง ๆ เพื่อแสดง Running Power ปัจจุบัน, Lap Running Power, Lap Running Power ล่าสุด, Power เฉลี่ย หรือทั้งสี่อย่างพร้อมกันก็ได้ นักวิ่งบางคนยังใช้โซนหรือการแจ้งเตือนต่าง ๆ ในการตรวจสอบกำลังการวิ่งของตัวเองอีกด้วย การตั้งค่าของแอปจะช่วยให้คุณสามารถตั้งค่าโซนกำลังการวิ่งแบบกำหนดเองได้ 5 โซน และ/หรือการแจ้งเตือนกำลังการวิ่งสูงและต่ำ เพื่อช่วยให้คุณรักษาระดับกำลังการวิ่งให้อยู่ในระยะที่ตั้งเป้าไว้ได้

หากคุณมีอุปกรณ์ Garmin ที่เหมาะสมอยู่แล้ว การเพิ่มกำลังเข้าไปในการวิ่งของคุณก็จะไม่มีค่าใช้จ่าย คุณเพียงต้องมีนาฬิกา Garmin¹ ที่รองรับ และ 1 ใน 3 อุปกรณ์เสริมเหล่านี้: HRM-Run, HRM-Tri หรือ Running Dynamics Pod ดาวน์โหลดแอป Running Power ตอนนี้เลยเพื่อเข้าใช้ข้อมูลกำลังได้แบบเรียลไทม์

¹อุปกรณ์ที่รองรับต่าง ๆ

Hill Score

การทำความเข้าใจ Hill Score ของคุณ บน Garmin

HILL-SCORE

เนินเขาเป็นสถานที่ธรรมชาติที่ต้องคำนึงถึงเมื่อทำการวางแผนคอร์สหรือวางกลยุทธ์ในการแข่ง การต่อสู้ขึ้นเนินเป็นที่ที่ความทรงจำถูกสร้างขึ้น - ที่ซึ่งความกล้าหาญและความสามารถของคุณถูกทดสอบ คุณสมบัติคะแนนเนินเขาบนอุปกรณ์ Garmin เฉพาะรุ่นสามารถช่วยทำความเข้าใจและปรับปรุงความสามารถในการวิ่งขึ้นเนินของคุณได้ รับข้อมูลเชิงลึกว่าเนินเขาที่คุณวิ่งในการฝึกนั้นเพิ่มสมรรถภาพของคุณได้อย่างไรและทำการตรวจติดตามความก้าวหน้าเมื่อเวลาผ่านไป

ทำไม Hill Score ของคุณถึงมีความสำคัญ

การวิ่งขึ้นเนินนั้นโดยพื้นฐานแล้วจะแตกต่างจากการวิ่งบนพื้นราบ คุณสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นทักษะพิเศษ ซึ่งหมายความว่าอาจจะเป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อนก็ได้ เวลาและพลังงานที่ลงทุนไปเพื่อให้เป็นนักวิ่งขึ้นเนินที่ดียิ่งขึ้นนั้นสามารถเปลี่ยนการปีนที่ท้าทายให้กลายเป็นข้อได้เปรียบของคุณ ยิ่งไปกว่านั้น คุณสามารถคาดหวังว่าการออกกำลังขึ้นเนินจะเพิ่มความสามารถในการวิ่งโดยรวมได้

แต่อะไรกันแน่ที่ทำให้การวิ่งขึ้นเนินแตกต่างออกไป?

ง่าย ๆ คือมันใช้กำลังมากกว่า ใช้พลังงานมากกว่าในการที่จะทำให้ตัวคุณขึ้นเนินได้ คุณกำลังขับเคลื่อนน้ำหนักตัวทั้งหมดของคุณไปข้างหน้าและขึ้นข้างบนในเวลาเดียวกัน การทำงานต้านแรงโน้มถ่วงแบบนี้จะเพิ่มความต้านทานที่กล้ามเนื้อที่คุณต้องเอาชนะให้ได้ ด้วยเหตุนี้ คุณจะเห็นกำลังที่ขาของคุณได้ออกที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อทำการวิ่งขึ้นเนินเมื่อเทียบกับการวิ่งบนพื้นราบ เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการกำลังที่เพิ่มมากขึ้น ร่างกายของคุณจะใช้กล้ามเนื้อต้นขาและน่องในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นเมื่อทำการวิ่งขึ้นเนิน

นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างทางชีวกลศาสตร์ที่สำคัญเมื่อเทียบกับการวิ่งบนพื้นราบ การวิ่งขึ้นเนินโดยปกติจะสัมพันธ์กับอัตราการก้าวที่เร็วมากขึ้น ระยะเฟสการแกว่งที่สั้นลง การทำงานเชิงกลศาสตร์ภายในและกำลังขาออกในทุกข้อต่อที่เพิ่มมากขึ้น

ความต้องการกำลังที่เพิ่มมากขึ้น รูปแบบการใช้งานกล้ามเนื้อและความแตกต่างทางชีวกลศาสตร์ทั้งหมดนี้ต่างชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงว่าการวิ่งขึ้นเนินนั้นต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อให้ประสบความสำเร็จ นั่นหมายความว่าคุณควรใช้เวลาอย่างน้อยบางส่วนให้กับการฝึกขึ้นเนิน การฝึกและการทำซ้ำคือกุญแจที่นำไปสู่สมรรถภาพการขึ้นเนินที่มีประสิทธิภาพ ลื่นไหล และมีความชำนาญ และความเชี่ยวชาญที่แท้จริงสามารถมาจากการฝึกฝนเฉพาะทางอย่างเข้มข้นเท่านั้น

การคำนวณ Hill Score ของคุณ

คะแนนเนินเขาของคุณ (0-100) คำนวณโดยการใช้ข้อมูลสมรรถภาพและฟิตเนสรวมกัน คะแนนที่สูงขึ้นบ่งชี้ถึงการวิ่งขึ้นเนินที่มีความชำนาญมากขึ้น คะแนนของคุณยังถูกจัดประเภทจากวิ่งแบบสันทนาการไปจนถึงยอดเยี่ยม โดยเทียบกับคนอื่น ๆ ที่มีอายุและเพศเดียวกัน เพื่อให้มั่นใจว่าความก้าวหน้าที่คุณเห็นนั้นมีความหมายเป็นการส่วนตัว

เมื่อคุณบันทึกกิจกรรมการวิ่ง การเดิน หรือการไต่เขาด้วยอุปกรณ์ Garmin ที่รองรับของคุณ ส่วนที่เป็นการขึ้นเนินที่มีความชันมากกว่า 2% จะถูกตรวจจับและวิเคราะห์โดยอัตโนมัติ กิจกรรมล่าสุดของคุณจะมีผลกระทบต่อคะแนนเนินเขาปัจจุบันมากที่สุด แต่ข้อมูลที่เก็บมาหลายเดือนก็ยังได้รับการพิจารณาในการวิเคราะห์ด้วย

เป้าหมายของการวิเคราะห์การฝึกนี้คือเพื่อตรวจสอบว่าการออกแรงของคุณมีส่วนร่วมในการพัฒนาความแข็งแรงในการขึ้นเนินและความอดทนในการขึ้นเนินอย่างไร สมรรถภาพในทั้งสองด้านของคุณจะเสริมกัน โดยแต่ละด้านจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน และคุณลักษณะทั้งสองช่วยให้การวิ่งขึ้นเนินนั้นมีประสิทธิภาพ คะแนนเนินเขาของคุณบางส่วนยังขึ้นอยู่กับ VO2 max ปัจจุบันของคุณ ซึ่งประมาณโดยอัตโนมัติในระหว่างการวิ่งกลางแจ้ง

เชี่ยวชาญแต่ละองค์ประกอบของ Hill Score ของคุณ

ความอดทนในการขึ้นเนิน

ความอดทนในการขึ้นเนินสะท้อนถึงการฝึกกล้ามเนื้อของคุณเพื่อการปีนซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาที่ยาวนานยิ่งขึ้น ซึ่งเกี่ยวกับการพัฒนาการต้านทานการเหนื่อยล้าและความสามารถสำหรับสมรรถนะที่ยั่งยืน เวลาที่ใช้ไปในการปีนและระดับความสูงคือปัจจัยสำคัญในการสร้างความอดทน การออกแรงด้วยความเข้มข้นต่ำมอบข้อได้เปรียบทางกลยุทธ์สำหรับการสร้างความอดทน หากคุณต้องการเดินขึ้นเนินในระหว่างการวิ่ง คุณก็ทำได้ คุณยังคงสร้างความอดทนในการขึ้นเนินของคุณอย่างช้า ๆ แต่แน่นอน ออกกำลังเพื่อเพิ่มปริมาณการออกกำลังการขึ้นเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไปในขณะที่หลีกเลี่ยงความต้องการการฟื้นฟูปริมาณมากที่สัมพันธ์กับการออกแรงความเข้มข้นที่สูงขึ้น

ความแข็งแรงในการขึ้นเนิน

ความแข็งแรงในการขึ้นเนินแสดงถึงความสามารถในการวิ่งขึ้นเนินด้วยพละกำลังของคุณ ซึ่งเกี่ยวกับความสามารถในการท้าทายส่วนขึ้นเนินด้วยการออกแรงแบบแอโรบิกและแอนแอโรบิกความเข้มข้นสูง การสร้างความแข็งแรงในการขึ้นเนินต้องการการออกแรงการขึ้นเนินที่มีความเข้มข้นสูงและหนักหน่วงเป็นประจำ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความชันและความเร็วในขณะที่คุณออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการขึ้นเนิน การรักษาเพซที่ช้าลงบนเนินที่มีความชันมากจะสามารถใช้การออกแรงเดียวกันกับการใช้เพซที่เร็วขึ้นบนทางลาดเอียงที่ชันน้อยกว่า มุ่งเน้นไปที่การออกแรงอย่างหนักหน่วงอย่างต่อเนื่องมากกว่าที่จะเป็นเพซ การวิ่งขึ้นเนินอย่างหนักหน่วงสามารถทำให้ร่างกายของคุณทำงานหนักมาก ดังนั้นอย่าลืมเผื่อเวลาพักฟื้นระหว่างการออกแรงด้วย

VO2 MAX

ฟิตเนสแอโรบิกที่วัดในรูปแบบ VO2 max คือตัวคาดการณ์ที่ยอดเยี่ยมของสมรรถภาพในการวิ่ง ซึ่งเป็นจริงอย่างยิ่งเมื่อต้องวิ่งขึ้นเนิน สาเหตุหลักเป็นเพราะปัจจัยมวลร่างกายในการประมาณการ VO2 max ของคุณ VO2 max ที่แสดงบนอุปกรณ์ Garmin ของคุณจะอธิบายปริมาณสูงสุดของออกซิเจนที่ร่างกายของคุณสามารถใช้ได้ในระหว่างกิจกรรมทางกายภาพที่เข้มข้นต่อน้ำหนักร่างกายเป็นกิโลกรัมในหนึ่งนาที (มล./กก./นาที) นักวิ่งที่มีรูปร่างใหญ่กว่าอาจมีความสามารถในการใช้ออกซิเจนได้มากกว่านักวิ่งที่มีรูปร่างเล็กกว่า แต่อัตราการใช้ออกซิเจนที่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวคือสิ่งที่สำคัญเมื่อพูดถึงสมรรถภาพ เนื่องจากการวิ่งขึ้นเนินคือการต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงอย่างต่อเนื่อง น้ำหนักตัวที่เบากว่าจึงกลายเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญเมื่อเวลาผ่านไป

ฉันจะสามารถปรับปรุง Hill Score ของฉันได้อย่างไร?

นาฬิกาของคุณคือตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับคำแนะนำถึงวิธีที่จะเป็นนักวิ่งขึ้นเนินที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นและดียิ่งขึ้น เครื่องวิเคราะห์ที่ใช้เพื่อคำนวณคะแนนของคุณยังมอบข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคลเพื่อช่วยให้คุณพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

คาดหวังได้ว่าคะแนนเนินเขาของคุณจะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณนำการวิ่งขึ้นเนินเข้าไปในการฝึกของคุณมากขึ้น ค่า VO2 max ตอนเริ่มต้นที่มากขึ้นจะมอบแรงกระตุ้นเริ่มต้นให้แก่คุณในเส้นทางของการเป็นนักวิ่งขึ้นเนินที่เชี่ยวชาญ แต่คุณยังต้องออกไปข้างนอกและพิชิตเนินเขาเพื่อไปให้ถึงศักยภาพของคุณ

การเสียความเร็วในการก้าว

step-speed-loss

กล่าวโดยง่ายการสูญเสียความเร็วในการก้าว (SSL) คือ ความเร็วที่คุณสูญเสียไปเมื่อเท้ากระทบพื้น เพื่อเข้าใจสิ่งนี้อย่างแท้จริง จะเป็นประโยชน์หากคุณรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับความเร็วในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของคุณในแต่ละก้าวขณะวิ่ง กราฟด้านล่างแสดงตัวอย่างของความเร็วในการวิ่งไปข้างหน้าของนักวิ่งคนหนึ่งตลอดระยะเวลาของสองก้าว ซึ่งวัดโดยเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวในเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ

A chart showing what happens to a runner's forward speed as their foot strikes the ground during flight phase and stance phase, and how step speed loss is measured.

ตามตัวอย่างในกราฟนี้ แม้ว่าคุณจะวิ่งด้วยความเร็วคงที่ คุณก็ยังช้าลงเล็กน้อยหลังจากที่เท้าสัมผัสพื้น จากนั้นคุณจะเร่งความเร็วอีกครั้งในช่วงที่สองของเฟสสัมผัสพื้น SSL คือความแตกต่างระหว่างความเร็วในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ณ จุดที่เท้าสัมผัสพื้นครั้งแรกกับความเร็วไปข้างหน้าต่ำสุด ดังนั้น SSL คือการวัดว่าคุณช้าลง หรือหยุดมากแค่ไหนในแต่ละก้าว ค่าดังกล่าววัดจากบริเวณหน้าอกโดยเครื่องวัดอัตราการเต้นหัวใจในหน่วยหน่วยเป็นเซนติเมตรต่อวินาที

SSL ได้รับผลกระทบจากลักษณะการวิ่งของคุณ เมื่อคุณวิ่งด้วยอัตราการก้าวต่อนาทีที่ต่ำหรือมีการก้าวยาวเกินไป SSL จะมีแนวโน้มสูงขึ้น SSL ที่สูงขึ้นหมายความว่าคุณต้องใช้แรงขับมากขึ้นในการเร่งความเร็วในช่วงที่สองของเฟสการลงน้ำหนัก ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว SSL ที่ต่ำกว่าจะดีกว่า คำแนะนำในการวิ่งที่อาจช่วยให้คุณพัฒนา SSL ได้แก่ การพยายามวิ่งอย่างนุ่มนวลและเบา รวมถึงการลดความยาวของก้าว

เมื่อคุณวิ่งขึ้นเนิน แรงโน้มถ่วงจะทำหน้าที่เป็นแรงต้าน ทำให้คุณช้าลง และเมื่อคุณวิ่งลงเนิน แรงโน้มถ่วงจะทำหน้าที่เป็นแรงเร่ง ทำให้คุณเร็วขึ้น บารอมิเตอร์ในนาฬิกาของคุณจะตรวจจับความชันของพื้นที่ ซึ่งช่วยให้ค่าตัวชี้วัดการสุญเสียความเร็วในการก้าว (SSL) คำนวณโดยคำนึงถึงผลของแรงโน้มถ่วง ตามที่คาดไว้ โดยทั่วไป SSL จะต่ำลงเมื่อวิ่งขึ้นเนินและจะสูงขึ้นเมื่อวิ่งลงเนิน โปรดทราบว่าความชันจะไม่ถูกนำมาคิดในการวิ่งบนลู่วิ่ง เนื่องจากนาฬิกาไม่สามารถวัดความชันของลู่วิ่งได้

SSL มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้คุณพัฒนาการวิ่งของตนเอง ดังนั้นจึงจะไม่ถูกคำนวณในขณะเดิน นอกจากนี้ SSL ต้องการการวิ่งที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างสม่ำเสมอ จึงอาจไม่ถูกคำนวณระหว่างการเลี้ยว หรือเมื่อวิ่งบนพื้นผิวที่เปลี่ยนแปลง เช่น เทรลที่ซับซ้อน

เปอร์เซ็นต์การเสียความเร็วในการก้าว

ตัวชี้วัดอีกค่าหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้คือเปอร์เซ็นต์การเสียความเร็วในการก้าว (SSL%) ซึ่งแสดงค่า SSL ของคุณเป็นเปอร์เซ็นต์ของความเร็วในการวิ่งปัจจุบัน โดยทั่วไป SSL จะเพิ่มขึ้นตามความเร็วที่วิ่งเร็วขึ้น ดังนั้น SSL% จึงช่วยปรับค่าดังกล่าวให้สัมพันธ์กับบริบทความเร็ว เช่นเดียวกับ SSL ค่า SSL% ที่ต่ำกว่าย่อมดีกว่า

คุณสามารถเพิ่ม SSL% เป็นหนึ่งในช่องข้อมูลบนหน้าปัดนาฬิกา เพื่อดูแบบเรียลไทม์ควบคู่ไปกับ SSL หรือสามารถดูกราฟแสดงค่า SSL% แบบ เชิงเวลาย้อนหลังได้ในแอป Garmin Connect