2021
เราได้ทำการเปิดสำนักงานแห่งใหม่ในประเทศไทย และเวียดนาม รวมถึงโรงงานการผลิตขั้นสูงในโปแลนด์ และไต้หวัน
2021
เราได้ทำการเปิดสำนักงานแห่งใหม่ในประเทศไทย และเวียดนาม รวมถึงโรงงานการผลิตขั้นสูงในโปแลนด์ และไต้หวัน
Garmin ก้าวเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นเต็มตัว ด้วยการเปิดสำนักงานแห่งใหม่ในประเทศไทยและเวียดนาม และขยายกำลังการผลิตด้วยโรงงานการผลิตแห่งใหม่ในรอกลอว์ ในโปแลนด์ และไถหนาน ในไต้หวัน
2020
Garmin เปิดตัวเทคโนโลยีการชาร์จด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะที่สร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้กับอายุการใช้งานแบตเตอรี่ของนาฬิกาสวมใส่อัจฉริยะ
2020
Garmin เปิดตัวเทคโนโลยีการชาร์จด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะที่สร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้กับอายุการใช้งานแบตเตอรี่ของนาฬิกาสวมใส่อัจฉริยะ
Garmin เปิดตัวเทคโนโลยีการชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะเพื่อผลิตสมาร์ทวอทช์ชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์หนึ่งเดียวในโลกที่สามารถรองรับโหมดการเคลื่อนไหวอัจฉริยะที่หลากหลาย ซึ่งครอบคลุมเทคโนโลยีโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ที่จดสิทธิบัตรมากกว่า 30 รายการ เทคโนโลยีเลนส์ชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ Power Glass™ ที่ล้ำหน้าและการเป็นผู้นำในการออกแบบ UPS ตัวแรกของโลกทำให้ยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้ 5 เท่า นาฬิกาอัจฉริยะ GPS ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามชุดได้รับการเปิดตัวคือ: fēnix 6 Solar, Instinct Solar และ tactix Delta Solar ยกระดับอุปกรณ์สวมใส่ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แบบอัจฉริยะสู่ระดับใหม่
2019
เมื่อ Garmin เข้าสู่การครบรอบปีที่ 30 เราได้เปิดตัวนาฬิกาอัจฉริยะรุ่นเรือธงคือ MARQ Collection
2019
เมื่อ Garmin เข้าสู่การครบรอบปีที่ 30 เราได้เปิดตัวนาฬิกาอัจฉริยะรุ่นเรือธงคือ MARQ Collection
ในการตอบรับการครบรอบปีที่ 30 Garmin ได้เปิดตัวนาฬิกาอัจฉริยะรุ่นพรีเมียมที่สุดของแบรนด์คือ MARQ Collection ซึ่งประกอบไปด้วยนาฬิกาที่แตกต่างกัน 5 แบบ: MARQ Driver นาฬิกาการแข่งรถที่มีการโหลดสนามแข่งรถทั่วโลกไว้ให้ล่วงหน้า MARQ Athlete นาฬิกาตัวแรกที่มีคุณสมบัติอัจฉริยะในการแสดงเวลาการฟื้นตัวและระดับ VO2 สูงสุดบนตัวเรือน นอกจากนี้ยังมี MARQ Captain, MARQ Adventurer, และ MARQ Aviator คอลเลกชันนี้รวบรวมประสิทธิภาพที่เหนือชั้นของ Garmin ในทุกแอปพลิเคชันของการออกแบบและพัฒนา - "สร้างมาจาก DNA ของเรา แท้จริงในทุกรายละเอียด"
2018
เปิดตัวนาฬิกาดำน้ำระดับอาชีพตัวแรกคือ Descent® Mk1 เข้าสู่ตลาดนาฬิกาดำน้ำอย่างเป็นทางการ
2018
เปิดตัวนาฬิกาดำน้ำระดับอาชีพตัวแรกคือ Descent® Mk1 เข้าสู่ตลาดนาฬิกาดำน้ำอย่างเป็นทางการ
พร้อมด้วยการนำทางระบบ GPS บนผิวน้ำ แผนที่ครบสีสันและอื่น ๆ อีกมาก Descent Mk1 เป็นคอมพิวเตอร์ดำน้ำในรูปแบบนาฬิกาข้อมือที่นักดำน้ำทุกคนต้องการ นาฬิกานี้เหมาะสำหรับการดำน้ำเพื่อการพักผ่อน ทางเทคนิก และแบบ freediving นาฬิกาจะคำนวณการลดความกดดันแบบ no- decompression limit โดยใช้อัลกอริธึ่ม Bühlmann ZHL-16c และมอบข้อมูลที่เข้าใจง่ายให้แก่นักดำน้ำ เช่น โหลดไนโตรเจน และ decompression stop ต่าง ๆ
2017
ได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้ผลิตแห่งปีจากสมาพันธ์อุปกรณ์ทางทะเลแห่งชาติ (NMEA) เป็นปีที่สามติดต่อกัน และชนะรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม 8 ครั้ง
2017
ได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้ผลิตแห่งปีจากสมาพันธ์อุปกรณ์ทางทะเลแห่งชาติ (NMEA) เป็นปีที่สามติดต่อกัน และชนะรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม 8 ครั้ง
NMEA เป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางทะเลต่าง ๆ Garmin ไม่เพียงแต่ชนะรางวัลผู้ผลิตแห่งปี แต่ยังไดรับรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมใน 8 สาขาอีกด้วย ได้แก่ สาขา Autopilot, Multi-Function Display, Radar, Fish Finder, AIS, Marine App-Aids to Navigation, Marine App-Technical และ Multimedia Entertainment
2016
วางจำหน่าย vívomove® นาฬิกาอัจฉริยะที่มีเข็มอนาล็อก เปิดประตูสู่ตลาดนาฬิกาอัจฉริยะแบบไฮบริด
2016
วางจำหน่าย vívomove® นาฬิกาอัจฉริยะที่มีเข็มอนาล็อก เปิดประตูสู่ตลาดนาฬิกาอัจฉริยะแบบไฮบริด
ดีไซน์ของเครื่องมือจับเวลาคลาสสิคนี้แตกต่างจากดีไซน์สี่เหลี่ยมแบบดั้งเดิมที่มักจะพบเห็นในนาฬิกาข้อมืออัจฉริยะทั่วไป รูปลักษณ์ที่มีสไตล์ของ vívomove ได้รวมเอาตัวนับจำนวนก้าวในตัวและแถบเคลื่อนไหวเข้าไปในหน้าจอแบบ dual-arc รวมเอาดีไซน์ที่ไร้กาลเวลาเข้ากับฟังค์ชั่นอัจฉริยะ vívomove กลายเป็นหน้าใหม่ในประวัติศาสตร์ของเครื่องมือจับเวลา
2015
วางจำหน่าย Forerunner 225® นาฬิกาวิ่งตัวแรกของ Garmin ที่มีเครื่องตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือ
2015
วางจำหน่าย Forerunner 225® นาฬิกาวิ่งตัวแรกของ Garmin ที่มีเครื่องตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือ
Forerunner 225 คือนาฬิกาวิ่งระบบ GPS ตัวแรกของ Garmin ที่มีการติดตามอัตราการเต้นของหัวใจจากข้อมือ ในที่สุดนักวิ่งและนักกรีฑาก็จะมีตัวเลือกในการติดตามอัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาในขณะวิ่งโดยไม่ต้องใส่สายรัดหน้าอก เพราะมีเซนเซอร์แสงจับอัตราการเต้นของหัวใจในตัวนาฬิกาโดยใช้เทคโนโลยี Mio Heart Rate
2014
เปิดตัว Connect IQ แพลตฟอร์มเปิดสำหรับแอปบุคคลที่สามของ Garmin
2014
เปิดตัว Connect IQ แพลตฟอร์มเปิดสำหรับแอปบุคคลที่สามของ Garmin
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่มากขึ้น Garmin จึงเปิดตัวแพลตฟอร์ม Connect IQ สำหรับนักพัฒนาในการสร้างแอปและวิจิทต่าง ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์ Garmin Connect IQ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งหน้าปัดนาฬิกาแบบกำหนดเอง และปรับแต่งสไตล์นาฬิกาของตัวเอง ปรับแต่งแอปและวิจิทต่าง ๆ เพื่อให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น สร้างฟิลด์ข้อมูลแบบปรับแต่งเองและติดตามเมตริกร่างกายต่าง ๆ และเชื่อมต่อกับแอปสมาร์ทโฟนต่าง ๆ เพื่อควบคุมสื่อการสตรีมมิ่ง
2013
กลายมาเป็นผู้จัดทำระบบนำทางในแผงหน้าปัดรถ Mercedes-Benz
2013
กลายมาเป็นผู้จัดทำระบบนำทางในแผงหน้าปัดรถ Mercedes-Benz
"ประสบการณ์หลายปีในการส่งมอบระบบนำทางในแผงหน้าปัดให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์มากมาย ส่งผลให้ Garmin เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบความปลอดภัยเชิงรุกขั้นสูงในการช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้ระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้และหลีกเลี่ยงการชน ระบบความบันเทิงที่ให้ข้อมูล MAP PILOT ใช้ทั้งการสั้งการด้วยเสียงและสัมผัส และแสดงพื้นที่แบบสามมิติและจุดสนใจต่าง ๆ ในแบบเรียลไทม์ เพิ่มความรับรู้และความสามารถในการตอบสนองต่อสภาพถนนล่วงหน้าแก่ผู้ขับขี่
การได้รับเลือกจาก Daimler เป็นหุ้นส่วนด้านโซลูชั่นการนำทางระดับหนึ่งคือข้อพิสูจน์ความสามารถของ Garmin ในการวิจัยและพัฒนา และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี "
2011
ดร. Min H. Kao ผู้ร่วมก่อตั้งได้รับเลือกเข้าสู่สถาบันวิศวกรรมแห่งชาติ
2011
ดร. Min H. Kao ผู้ร่วมก่อตั้งได้รับเลือกเข้าสู่สถาบันวิศวกรรมแห่งชาติ
"ดร. Min H. Kao ได้รับเลือกจากความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาและการค้าระบบการนำทาง GPS ขนาดกะทัดรัด
การได้รับเลือกเข้าสู่สถาบันวิศวกรรมแห่งชาติ (National Academy of Engineering) เป็นหนึ่งในเกียรติยศทางอาชีพสูงสุดที่มอบให้แก่วิศวกร สมาชิกภาพของสถาบันเป็นการให้เกียรติผู้ที่ทำประโยชน์อย่างโดดเด่นให้แก่ “การวิจัย ปฏิบัติ หรือการศึกษา สาขาวิศวกรรม รวมทั้งวรรณกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ที่สำคัญในบางกรณี” และให้แก่ “ผู้ขุกเบิกในสาขาเทคโนโลยีใหม่และกำลังพัฒนา ผู้สร้างความก้าวหน้าที่สำคัญในสาขาดั้งเดิมทางวิศวกรรม หรือที่พัฒนา/ปรับใช้วิธีการทางนวัตกรรมเพื่อการศึกษาด้านวิศวกรรม”"
2007
Clifton A. Pemble ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
2007
Clifton A. Pemble ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
Clifton A. Pemble เข้าร่วม Garmin International ในปี 1989 ในตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์ ในฐานะพนักงานกลุ่มแรกของบริษัท เขาได้ทำงานในด้านการเป็นผู้นำที่หลากหลาย รวมทั้งการจัดการวิศวกรรมระบบและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปี 2007 Pemble ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวจนกระทั่งได้เลื่อนเป็น CEO ในเดือนมกราคม 2013 ต่อจาก ดร. Min Kao ผู้ร่วมก่อตั้ง
2003
เปิดตัว Forerunner™ 201 ที่เป็นตำนาน เทรนเนอร์บนข้อมือระบบ GPS ตัวแรกของโลก
2003
เปิดตัว Forerunner™ 201 ที่เป็นตำนาน เทรนเนอร์บนข้อมือระบบ GPS ตัวแรกของโลก
ในระหว่างการทดสอบตัวนำทางระบบ GPS สำหรับนักปีนเขา Claudette วิศวกรซอฟต์แวร์ เกิดไอเดียในการผูกเครื่อง GPS ไว้บนข้อมือ และค้นพบว่าใช้การได้ดีในการติดตามระยะทางและความเร็ว เหตุการณ์นี้ทำให้วิศวกรสาวผู้ซึ่งใช้เวลาส่วนมากในช่วงมัธยมและมหาวิทยาลัยในการเดินป่าเป็นแนวรูปไข่ เกิดไอเดียขึ้น ทำให้เกิดการส่งมอบข้อมูล pace และระยะทางที่ได้จาก GPS ไปยังข้อมือนักวิ่ง ซึ่งต่อมาไอเดียนี้พัฒนาไปเป็น Forerunner 201
2001
วางจำหน่าย StreetPilot® III ผลิตภัณฑ์นำทางพกพาตัวแรกของโลกที่มีการแจ้งเตือนด้วยเสียง
2001
วางจำหน่าย StreetPilot® III ผลิตภัณฑ์นำทางพกพาตัวแรกของโลกที่มีการแจ้งเตือนด้วยเสียง
พันธกิจของอุปกรณ์นำทางทุกชิ้นคือการมอบข้อมูลที่สำคัญได้ในเวลาที่จำเป็น และปล่อยให้ผู้ขับขี่มีสมาธิกับท้องถนน Street Pilot III มอบความมั่นใจให้แก่ผู้ขับขี่ทุกรายด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย The Street Pilot III มอบเส้นทางที่สั้นและเร็วที่สุดพร้อมการบอกทิศทางและเวลาที่คาดว่าจะไปถึงจุดหมาย และการแจ้งเตือนที่แจ้งผู้ขับขี่โดยอัตโนมัติถึงทางเลี้ยวที่จะถึงและการเบี่ยงเบนออกจากเส้นทาง ซึ่งจะนำทางผู้ขับขี่ไปยังจุดหมายได้อย่างปลอดภัย
2000
รัฐบาลสหรัฐเปิดข้อมูล GPS เป็นสาธารณะ ซึ่งช่วยปรับปรุงความแม่นยำให้แก่การบอกตำแหน่งด้วย GPS ของพลเรือนเป็นอย่างมาก
2000
รัฐบาลสหรัฐเปิดข้อมูล GPS เป็นสาธารณะ ซึ่งช่วยปรับปรุงความแม่นยำให้แก่การบอกตำแหน่งด้วย GPS ของพลเรือนเป็นอย่างมาก
"GPS มอบบริการบอกตำแหน่งที่ยอดเยี่ยมสองอย่าง คือ บริการบอกตำแหน่งมาตรฐาน (SPS) สำหรับผู้ใช้ทั่วไป และบริการบอกตำแหน่งแม่นยำ (PPS) สำหรับการทหาร เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีที่ใช้ระบบ GPS รัฐบาลสหรัฐจึงใช้มาตรการเลือกให้บริการ ซึ่งเป็นการลดคุณภาพบริการ GPS อย่างจงใจซึ่งมีระดับความแม่นยำเพียงระยะ 100 เมตร
ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2000 รัฐบาลสหรัฐยุติมาตรการเลือกให้บริการ ทำให้ระบบ GPS สามารถเข้าถึงได้โดยพลเรือนและสามารถใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้ทั่วโลก"
1998
วางจำหน่าย NavTalk® โทรศัพท์มือถือระบบ GPS รุ่นแรกของโลก
1998
วางจำหน่าย NavTalk® โทรศัพท์มือถือระบบ GPS รุ่นแรกของโลก
นอกจากจะเป็นตัวรับสัญญาณ GPS แบบเต็มคุณสมบัติแล้ว NavTalk ยังเป็นโทรศัพท์มือถือสมรรถนะสูงที่มีคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยม การรายงานตำแหน่งระบบ GPS ของ NavTalk จะแสดงตำแหน่งที่คุณโทรออกได้อย่างแม่นยำด้วยหน้าจอสว่างความละเอียดสูง และเทคโนโลยีตัวรับสัญญาณ GPS เป็นตัวรับจดสิทธิบัตรแบบสิบสองช่องสัญญาณคู่ขนานสมรรถนะสูงตัวเดียวกับที่ใช้ใน GPS III® Plus ที่โด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่อยู่ในตัว NavTalk ก็รวมเอาถนนนับล้านไมล์และทางหลวงต่าง ๆ ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และทวีปอเมริกาใต้ไว้ในตัวเครื่อง NavTalk จึงเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งชั้นสูง
1993
เปิดตัว GPS 95 เครื่อง GPS พกพาสำหรับการบินตัวแรกของโลก
1993
เปิดตัว GPS 95 เครื่อง GPS พกพาสำหรับการบินตัวแรกของโลก
ในช่วงที่ระบบ GPS ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง GPS 95 ก็สามารถติดตามสัญญาณดาวเทียม 8 ตัวได้แล้ว ในระหว่างที่อัปเดตเส้นทางการบินได้อย่างสม่ำเสมอ GPS 95 มีอินเทอร์เฟซแบบกราฟฟิคชั้นนำของอุตสาหกรรม ทำให้การปฏิบัติงานทำได้ง่าย และสามารถจัดเก็บเส้นทางต่าง ๆ ได้ถึง 500 เส้นทางรวมทั้งเส้นทางกลับ ข้อมูลที่แสดงได้แก่ ระยะทางในการบิน เวลา การใช้น้ำมันที่คาดคะเน เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกที่จุดเริ่มต้นและจุดหมายของการเดินทาง ค่าคาดคะเนความสูงที่สัมพันธ์กับความหนาแน่นก่อนลงจอด และความเร็วการบินแบบเรียลไทม์ การใช้งานและความง่ายของการปฏิบัติงานของอุปกรณ์ทำให้เป็นที่นิยมในหมู่นักบิน