ทุกการดำน้ำมีความสำคัญ

การประกวดภาพใต้น้ำ
ส่งรูปถ่ายสัตว์ทางทะเลของคุณและมีส่วนร่วมในการวิจัยการอนุรักษ์ทางทะเล

คุณสามารถมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับการพบเจอสัตว์น้ำทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียได้ด้วยการเข้าร่วมโครงการ GARMIN x LAMAVE บน iNaturalist


เพื่อสนับสนุนการส่ง Garmin จะรวบรวมคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วยช่างภาพมืออาชีพของ UW นักวิทยาศาสตร์การอนุรักษ์ทางทะเลและนักดำน้ำมืออาชีพเพื่อคัดเลือกผลงานที่โดดเด่นเพื่อรับรางวัลใหญ่

- วิธีในการส่ง -

ในการเข้าร่วม คุณต้องส่งรูปภาพ/การสังเกตของคุณผ่านเว็บไซต์ iNaturalist ภายใต้โครงการ "The Descent Mission"

Step 1ขั้นแรกให้ทำการสร้างบัญชีบน iNaturalist

Step 2เข้าร่วม/เป็นสมาชิกของโครงการ "The Descent Mission" บน iNaturalist

Step 3คลิก "เพิ่มการสังเกต" บนโครงการเพื่ออัปโหลดภาพที่ต้องการส่งของคุณ

Step 4การส่งทั้งหมดต้องมีข้อมูลสายพันธุ์ วันที่ และตำแหน่ง GPS จึงจะครบคุณสมบัติ

Winners & Prize

ที่สุดของภารกิจ Descent ที่สุดของ [ชื่อภูมิภาค] ที่สุดของภารกิจ LAMAVE
ระดับ 1เกณฑ์การคัดกรอง การส่งทั้งหมดต้องมีสายพันธุ์ วันที่ ตำแหน่ง GPS จึงจะครบคุณสมบัติ
ระดับ 225% ● เวลา ความลึก อุณหภูมิน้ำ 15%
● พฤติกรรมสัตว์ เพศ ขนาดกลุ่ม (เดี่ยว, สองตัวขึ้นไป และอื่น ๆ) 10%
ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล ยิ่งผู้เข้าร่วมสามารถให้ข้อมูลได้มาก (หากมี) จะยิ่งช่วยสนับสนุนความพยายามในการวิจัยและอนุรักษ์มากขึ้น และทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น
ระดับ 3 75%
● การยึดมั่น/ความเหมาะสมกับธีม
● ความเป็นเอกลักษณ์ของแนวคิด
● ความคิดสร้างสรรค์
● วิธีการใหม่ในการนำเสนอเนื้อหา
● การออกแบบภาพ
● การแสดงผลงานทางศิลปะโดยรวม
● องค์ประกอบ
● สี แสง การเปิดรับแสง และโฟกัส
● การจูงใจผู้ชม
ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล ยิ่งผู้เข้าร่วมสามารถให้ข้อมูลได้มาก (หากมี) จะยิ่งช่วยสนับสนุนความพยายามในการวิจัยและอนุรักษ์มากขึ้น และทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น
สถานที่ที่ถ่ายภาพ ประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมด แต่ละภูมิภาค ประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมด
ตัดสินโดย คณะกรรมการทั้งหมด คณะกรรมการทั้งหมด LAMAVE
รางวัล ภาพที่ชนะทั้งหมดจะได้รับDescent MK2i x 1 + T1 x 1

Judge Profile

Kohei Ueno

- Singapore/Malaysia -

Kohei Ueno

โคเฮอิ อุเอโนะเป็นช่างภาพที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเชี่ยวชาญในการถ่ายภาพใต้น้ำและฟรีไดวิ่ง ความหลงใหลในท้องทะเลของเขาเริ่มต้นเมื่อวัยเด็กตอนอายุ 12 ปีเมื่อเขาได้รับใบรับรองการดำน้ำแบบเปิดครั้งแรก จนกระทั่งเมื่ออายุ 30 ปีที่เขาได้ค้นพบกีฬาฟรีไดวิ่งที่เปลี่ยนวิธีที่เขามองท้องทะเลไปอย่างสิ้นเชิง

เขาได้รางวัลที่ 1 ครั้งแรกในงาน Sony Alpha Awards ปี 2559 นับแต่นั้นโคเฮอิได้ชนะรางวัลการถ่ายภาพหลายรายการด้วยงานต่าง ๆ ที่ถูกเผยแพร่ในประเทศสิงคโปร์และต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2562 เขาได้รับรางวัล IPA Sports Photographer of the Year เช่นเดียวกับอันดับที่ 1 ในหมวดหมู่กีฬาผาดโผนมืออาชีพที่งาน Lucie Awards ครั้งที่ 17 ที่นิวยอร์กและอันดับที่ 2 ที่งาน Sony World Photography Awards ปี 2562 ในลอนดอน

ในเร็ว ๆ นี้เขาได้รับรางวัล GOLD AWARD Subcategory (Events-Sports) และ 1ST PLACE Category (Events) 2020 TIFA Tokyo International Foto Awards

Martin Zapanta

- Philippines -

Martin Zapanta

มาร์ตินประธานของ AIDA Philippines และผู้ก่อตั้งทีม Philippine Freediving เป็นนักฟรีไดฟ์ชั้นนำในประเทศฟิลิปปินส์และเจ้าของสถิติระดับประเทศในสี่สาขาของฟรีไดวิ่ง: CWT FIM DYN STA ความสนในในกีฬาฟรีไดวิ่งของมาร์ตินเริ่มในปี 2553 หลังจากดูวิดีโอที่มีการฟรีไดวิ่งกับปลาโลมา มาร์ตินเข้าคอร์สฟรีไดวิ่งในปี 2556 และได้รับใบรับรองจาก AIDA และ SSI มาร์ตินซึ่งเป็นนักทำภาพยนตร์และนักถ่ายภาพใต้น้ำมืออาชีพได้ทำงานร่วมกับผู้กำกับโฆษณาชาวฟิลิปปินส์และผู้เชี่ยวชาญในฮอลลีวูด เขาได้รับการแนะนำในนิตยสาร Hawaii Skin Diver และเครือข่ายโทรทัศน์เช่น GMA มาร์ตินยังเป็นครูฝึกสอนที่ Freedive Panglao อีกด้วย

Marco Chang

- Taiwan -

Marco Chang

มาร์โก ชาง ซึ่งปัจจุบันเป็นฟรีแลนซ์ที่มีประสบการณ์เป็นช่างถ่ายภาพใต้น้ำมากกว่า 10 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2555 มาร์โกเริ่มที่จะส่งผลงานของเขาลงในการประกวดมากมายและชนะรางวัลระดับนานาชาติมากกว่า 40 รางวัลนับแต่นั้นเป็นต้นมา งานที่น่าอัศจรรย์โดยส่วนใหญ่ของเขาถูกถ่ายในชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน

ด้วยการชมผลงานของเขา มาร์โกหวังว่าผู้คนจะไม่เพียงแต่เห็นความสวยงามของท้องทะเลเท่านั้นแต่จะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทะเลอย่างจริงจังด้วย เขาจะยังคงถ่ายภาพที่ยอดเยี่ยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อที่ว่าด้วยเลนส์ของเขาจะทำให้ผู้คนหลงรักท้องทะเลเหมือนกันกับเขา

Ariana Agustines

- Philippines -

Ariana Agustines

รองประธานสถาบันวิจัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ที่มีกระดูกสันหลังแห่งประเทศฟิลิปปินส์ หัวหน้าโครงการฉลามวาฬ และนักสำรวจเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก

อาริอานา นักวิจัยเกี่ยวกับปลากระดูกอ่อน (ฉลามและปลากระเบน) ที่มีการประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์ทางทะเล ในตอนแรกเธอมุ่งเน้นไปที่การวิจัยในห้องปฏิบัติการโดยทำงานที่ Mote Marine Laboratory Ecotoxicology Department อย่างไรก็ตามความปรารถนาของเธอที่ต้องการช่วยอนุรักษ์ทางทะเลที่บ้านเกิดของเธอที่ประเทศฟิลิปปินส์ทำให้เธอเข้าร่วม LAMAVE ในปี 2561 เธอดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการสำหรับโครงการอนุรักษ์และวิจัยฉลามวาฬเลย์เตทางตอนใต้โดยทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อรักษาแนวทางปฏิบัติด้านการท่องเที่ยวที่ดีที่สุดแบบครบวงจร และปัจจุบันเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยและอนุรักษ์ฉลามวาฬปาลาวันซึ่งกำลังศึกษาไดนามิกทางประชากรและนิเวศวิทยาของสายพันธุ์ที่มีเสน่ห์นี้เพื่อการจัดการการอนุรักษ์ อาริอานามุ่งมั่นที่จะสร้างผลกระทบด้านการอนุรักษ์ที่มากขึ้นต่อฉลามและปลากระเบนในประเทศฟิลิปปินส์ผ่านการส่งเสริมการตระหนักในชุมชนและร่วมมือกับรัฐบาล สถาบันวิจัย และสาธารณชน เธอชอบการผจญภัยกลางแจ้ง การดำน้ำลึก และสัตว์ป่า

Kim Sung Soo

- Korea -

Kim Sung Soo

คิมซองซูเป็นครูสอนฟรีไดวิ่งและช่างถ่ายภาพใต้น้ำที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี นอกจากนี้เขายังมีชื่อเสียงในฐานะฟรีไดเวอร์ในประเทศเกาหลี ซึ่งสร้างสถิติของเกาหลีใน Red C Cup ที่อียิปต์ในปี 2559 เขาทำงานเป็นช่างถ่ายภาพใต้น้ำหลักของ Barrel ซึ่งเป็นแบรนด์ชุดว่ายน้ำของเกาหลีตั้งแต่ปี 2561 และยังเข้าร่วม Freedive Panglao Aisa Freediving Cup ในฐานะช่างภาพสำหรับปี 2561 และ 2562 เขาเข้าร่วมงาน Korea Freediving Cup ในฐานะช่างภาพหลักในปี 2563 และกำลังทำงานร่วมกับ Patagonia Korea ในโฟโต้บุ๊คโต้คลื่นฤดูหนาว

Sirachai Arunrugstichai

- Thailand -

Shin Arunrugstichai

ศิรชัย (ชิน) อรุณรักษ์ติชัย (เกิด 2530) ช่างภาพแนวอนุรักษ์ชาวไทยที่เชี่ยวชาญในประเด็นการอนุรักษ์ทางทะเล เดิมทีชินรับงานถ่ายภาพเพื่อบันทึกความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ในขณะที่ทำงานเป็นนักชีววิทยาภาคสนาม อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้รับรู้ถึงพลังของการถ่ายภาพที่ใช้สื่อสารปัญหาด้านการอนุรักษ์อย่างจริงจังกับสาธารณะแล้ว ต่อมาศิรชัยได้ย้ายเส้นทางอาชีพของเขาสู่วารสารศาสตร์ภาพถ่ายในปี 2558

ปัจจุบันชินเป็นช่างภาพอิสระให้กับนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก (ฉบับภาษาไทย) โดยเริ่มทำงานเกี่ยวกับชะตากรรมของฉลามในน่านน้ำไทยในปี 2559 ต่อมาเขาได้บอกเล่าเรื่องราวเพิ่มเติมอีก 3 เรื่องสำหรับนิตยสาร เรื่องความเสื่อมโทรมของทะเลอันดามันในปี 2559 การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ในภาคใต้ของประเทศไทยในปี 2560 และพื้นที่คุ้มครองทางทะเล (MPAs) ของประเทศไทยในปี 2561 ในฐานะฟรีแลนซ์เขายังทำงานที่ได้รับมอบหมายกับองค์กรอนุรักษ์หลายแห่งรวมถึง IUCN Asia, Save Our Seas Foundation, WildAid และอื่น ๆ ในขณะที่ผลงานบางส่วนของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน National Geographic, the Washington Post, the Guardian และ BBC Earth

Nat Sumanatemeya

- Thailand -

Nat Sumanatemeya

นัทเป็นช่างภาพใต้น้ำมืออาชีพคนแรกของประเทศไทยโดยทำงานเป็นช่างภาพและนักเขียนให้กับนิตยสาร Thailand Outdoor และนิตยสารทั้งในและต่างประเทศอื่น ๆ ตั้งแต่ปี 2517 นอกจากงานถ่ายภาพแล้วแนทยังถ่ายภาพยนตร์สารคดีใต้ทะเลและบันทึกภาพทางอากาศให้กับหลายทีมสารคดี

กฎการแข่งขัน

  • คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน: การประกวดจำกัดเฉพาะบุคคลที่มีอายุสิบแปด (18) ปีขึ้นไปในขณะเข้าร่วม ผู้เข้าร่วมจะต้องเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในไต้หวัน ไทย ญี่ปุ่นฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลี อินโดนีเซีย หรือเวียดนาม
  • การแข่งขันสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • ภาพถ่ายที่มีสิทธิ์เข้าประกวดคือภาพถ่ายที่ยังไม่ได้รับการเผยแพร่หรือได้รับการยอมรับให้เผยแพร่ที่อื่นและต้องถ่ายโดยผู้ที่ส่งผลงาน ช่างภาพต้องเป็นผู้สร้างสรรค์และเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวในแต่ละรายการ
  • คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ในการประกวดรูปถ่ายไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขัน
  • ยอมรับการแก้ไขภาพทางดิจิทัลขั้นต่ำ (เช่น ปรับแสง ความคมชัด หรือตัดภาพเล็กน้อย) *แทรก bullet point ใหม่* ไม่ยอมรับการผสมภาพที่สร้างสรรค์ (เช่นเพิ่มหรือลบวัตถุในรูปภาพ) รูปภาพที่ปรับแต่งหรือถูกกรองอย่างมากจะถูกปฏิเสธตามดุลพินิจของกรรมการ *ดูหมายเหตุเพิ่มเติมที่รูป 3*
  • ช่างภาพจะรักษาลิขสิทธิ์ทั้งหมดของภาพของตนและมอบการอนุญาตแบบไม่ผูกขาดและไม่สามารถเพิกถอนได้สำหรับการใช้งานทั่วโลกให้ Garmin และบริษัทในเครือและบุคคลที่สามที่ได้รับอนุญาตซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย Garmin และจะไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือขอการอนุมัติเพิ่มเติมใด ๆ ที่เชื่อมโยงกับการใช้งานดังกล่าวในสื่อใด ๆ ในปัจจุบันหรือต่อจากนี้โดยไม่มีข้อจำกัด รวมถึงการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ในการเข้าร่วม "The Descent Mision" คุณยอมรับอย่างเต็มที่และรับทราบว่า Garmin ได้รับอนุญาตให้รับและใช้ข้อมูลการลงทะเบียนของคุณภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการนี้
  • หมายเหตุ: การส่งต้องถูกส่งก่อน 31 สิงหาคม 2564 เวลา 23:59 GMT+8 การส่งจะถูกตัดสินระหว่าง 1 กันยายน 2564
    ถึง 19 กันยายน 2564 ผู้ชนะในแต่ละหมวดหมู่จะถูกประกาศบนหน้าแคมเปญ ""The Descent Mission"" (www.garmin.com/) รูปภาพจะถูกติดสินโดยไม่ระบุชื่อ คำตัดสินของคณะกรรมการ Garmin และ LAMAVE ถือเป็นที่สุดและไม่พิจารณาการต่อรองใด ๆ ที่สุดของ [ชื่อภูมิภาค] จะได้รับรางวัลภาพที่ดีที่สุดจากแต่ละภูมิภาคของผู้เข้าร่วม เช่น ที่สุดของประเทศไทย จะให้รางวัลแก่ภาพที่ดีที่สุดที่ถ่ายในประเทศไทย แต่ละภูมิภาคจะมีผู้ชนะที่ดีที่สุด 1 คน สถานที่ของแต่ละการถ่ายภาพจะขึ้นอยู่กับข้อมูลจากตำแหน่ง GPS ที่ส่งเข้าประกวด

คำแนะนำการแข่งขันเพื่อการถ่ายภาพอย่างยั่งยืน

สำหรับแนวทางปฏิบัติที่ดีนักดำน้ำควรปฏิบัติตามจรรยาบรรณของ Green Fins